ปภ.เตือนปชช.อยู่ที่เสี่ยงภัยเรียนรู้เฝ้าระวังดินถล่ม

ปภ.เตือนปชช.อยู่ที่เสี่ยงภัยเรียนรู้เฝ้าระวังดินถล่ม

ปภ.เตือนปชช.อยู่ที่เสี่ยงภัยเรียนรู้เฝ้าระวังดินถล่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปภ. เตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยเรียนรู้ เฝ้าระวัง ป้องกันดินถล่มในช่วงฤดูฝน

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ระยะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่มีฝนตกหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณที่ลาดเชิงเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มสูง เนื่องจากมีปริมาณฝนตกสะสม ทำให้ดินชุ่มน้ำจนไม่สามารถรับน้ำหนักไว้ได้ จึงเลื่อนไหลและถล่มลงมายังพื้นที่ด้านล่าง เพื่อความปลอดภัย ขอแนะประชาชนเรียนรู้สัญญาณเตือนและวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดดินถล่ม ดังนี้ ในช่วงก่อนเกิดดินถล่มมักมีสัญญาณ ความผิดปกติทางธรรมชาติ ดังนี้ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง น้ำในแม่น้ำมีสีขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินบนภูเขาและมีระดับน้ำ เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ มีกิ่งไม้หรือท่อนไม้ไหลปนมากับกระแสน้ำ มีเสียงดังผิดปกติมาจากภูเขา สัตว์ป่ามีพฤติกรรมตื่นตกใจ หากสังเกตพบสัญญาณดังกล่าวให้เตรียมพร้อมรับมือ จะได้อพยพหนีภัยทันท่วงที การเตรียมพร้อมรับมือกับดินถล่ม หากอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ให้หมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ และจัดเวรยามเฝ้าระวังสถานการณ์ โดยติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศ ประกาศเตือนภัย และตรวจวัดปริมาณน้ำฝน จะได้แจ้งเตือนคนในชุมชนอพยพหนีภัยได้ทันท่วงที เข้าร่วมการฝึกซ้อมอพยพหนีภัย ในชุมชนอยู่เสมอ พร้อมศึกษาเส้นทางหนีภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งต้องอยู่ห่างจากแนวการไหลของดิน หากเกิดดินถล่มจะได้อพยพหนีภัยได้อย่างปลอดภัย เมื่อเกิดดินถล่มให้รีบอพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย พ้นจากแนวการไหลของดินถล่ม โดยขึ้นที่สูงหรือไปยังสถานที่ปลอดภัย  ซึ่งอยู่ห่างจากบริเวณพื้นที่ประสบภัยดินถล่มอย่างน้อย 2 - 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากลำน้ำให้มากที่สุด กรณีที่พลัดตกน้ำ ให้หาต้นไม้ใหญ่ยึดเกาะและปีนให้พ้นน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนีโดยเด็ดขาด เพราะหากกระแทกกับซากต้นไม้หรือหินที่ไหลมาตามน้ำ ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ หลังเกิดเหตุดินถล่ม ห้ามเข้าใกล้และกลับเข้าไปในบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากดินถล่ม หรือบริเวณที่มีป้ายเตือนอันตราย เพราะอาจเกิดอันตรายได้ จัดทำทางเบี่ยงของดินและน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำไหลลงมาสมทบมวลดินที่เสี่ยงต่อการถล่ม เพราะอาจเกิดดินถล่มลงมาซ้ำ


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook