Pen Pineapple Apple Pen คือ

ปากกา สับปะรด แอปเปิ้ล และนักการเมืองไทย...?

ปากกา สับปะรด แอปเปิ้ล และนักการเมืองไทย...?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Pen Pineapple Apple Pen คือ

เป็นปรากฏการณ์น่าสนใจนะครับ สำหรับคลิปมิวสิควิดีโอเพลง "Pen-Pineapple-Apple-Pen" หรือชื่อย่อ PPAP แต่ง ร้อง และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูบ โดยอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ Pico Taro อาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ Pico Taro อาจารย์จากเมืองชิบะ มหาวิทยาลัยฟุรุซากะ ประเทศญี่ปุ่น ล่าสุดยอดวิวในยูทูบพุ่งทะลุเกิน 2 ล้านครั้งแล้ว รวมถึงยังมีคนทั่วโลกนำไปคัฟเวอร์เป็นจำนวนมากอีกด้วย

เพลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Pico Taro animation project โดย Pico Taro ผู้แต่งตั้งใจให้เพลงนี้เป็นตัวแทนของดนตรี และมอบให้ผู้ที่ไม่เชื่อว่าดนตรีนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจได้ ซึ่งทำนองและเนื้อร้องง่ายๆ ที่มีอยู่แค่ไม่กี่คำ ทำให้เพลงนี้ดังก้องอยู่ในหัวคนฟัง จนบางรายเกิดอาการได้ยินเสียงเพลงในหูตลอดเวลา หรือที่เรียกว่าอาการ "เอียร์เวิร์ม" (Earworm)

ส่วนตัวแล้ว ปรากฏการณ์นี้ สะท้อนการเชื่อมโยงของโลกไร้พรมแดนภายใต้การพัฒนาทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ค่อนข้างชัดเจน กระแสฮิตติดหูที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก เป็นผลมากจากเทคโนโลยีการสื่อสารที่จะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตได้อย่างน่าพิศวง

ลองนึกย้อนกลับไปราว 5 ปีถอยลงไป กระแสความนิยมของคนดังของโลก อย่างศิลปินเพลง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา ใครจะก้าวขึ้นไปสู่แนวหน้าของวงการ มีเพลงเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก ต้องไปแจ้งเกิดที่นั้น ไปสร้างความนิยมให้กับสื่อ ให้กับสังคมอเมริกา ที่ถือเป็นศูนย์กลางของความสมัยใหม่ เสียก่อน จากนั้น ความนิยมจะแพร่หลายกระจายออกไปยังสังคมรอบข้างกระจายไปทั่วโลก

ซึ่งปัจจุบัน กระแสการแจ้งเกิด การเป็นศูนย์กลางของความนิยม ของสหรัฐอเมริกา แม้ยังมีอยู่ แต่หลังจาก การเกิดขึ้นของโลกโซเชียล มีเดีย การเชื่อมโยงของคนทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ต่างๆทั่วโลก สามารถกระจายการรับรู้ไปได้เพียงพริบตา และกว้างขวาง ผ่านช่องทางของสังคมโซเชียล ที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้ท้าทายความเป็นศูนย์กลางของกระแสความนิยมแบบเดิม และกำลังทำให้ ความเป็นศูนย์กลางแบบเดิมหมดความหมายไปที่ละน้อย

ปรากฏการณ์ เพลง "Pen-Pineapple-Apple-Pen" ซึ่ง เกิดที่ญี่ปุ่น และสามารถสร้างกระแสความนิยมให้กับคนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว คือบทพิสูจน์ชั้นดี

นอกจากนี้ นิยามของสร้างกระแสความนิยม ความงาม ความสุนทรีย์ ศิลปะ ก็พลอยถูกท้าทายไปด้วย ความลุ่มลึกของภาษา ความสวยงามของการประพันธ์ การสอดใส่จินตนาการ...ยังเป็นสิ่งที่งดงามและล้ำค่าเสมอ แต่ สิ่งเหล่านั้น จะเป็นที่นิยมของสังคมสมัยใหม่ ที่มีความต้องการแบบเร่งด่วน เร่งรีบ กินง่าย เสพง่าย ไม่ต้องการตีความอะไรมากมาย อยู่หรือไม่...ยังเป็นสิ่งที่ต้องค้นหา..และติดตาม

แต่วันนี้ สิ่งที่ อาจารย์ Pico Taro ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การสร้างกระแสความนิยม ทำอะไรให้ติดหู ทำให้คนระลึกถึงได้ง่าย หรือ จะเอาภาษาแบบนักวิชาการหน่อยที่เรียกว่า "การสร้าง วาทกรรม" ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะ การที่สื่อสามารถเข้าถึงทุกคนได้แบบไร้ขีดจำกัด การกระจายเพื่อสร้างความนิยม ในเรื่องต่างๆ ทำได้สะดวกขึ้น.... น่าติดตามครับ ว่า แนวโน้มการเสพ การสร้าง ความนิยมที่ทำได้อย่างรวดเร็ว จะส่งผลต่อสังคมโลกอย่างไร ...จะส่งผลต่อสังคมประเทศอย่างไร สังคมภูมิภาคอย่างไร....น่าสนใจยิ่งครับ..? โดยเฉพาะ นักการเมืองไทย ที่นิยมปั่นกระแสตัวเอง เขาจะทำอย่างไร..และเราในฐานะคนเสพสื่อ จะกรองสิ่งเหล่านี้อย่างไร...น่าติดตามยิ่งครับ...?

ที่ผ่านมา การโฆษณาชวนเชื่อ การยกแม่น้ำทั้ง 5 ของบรรดานักการเมือง ในยุคที่สื่อยังไม่กระจายตัวคลอบคลุมและรวดเร็วนักการเมืองยังสามารถทำได้ แต่ต่อไปนักการเมืองเหล่านี้สามารถกุมการนำเสนอได้โดยตรง ผ่านช่องทางที่กว้างขวาง ครอบคลุม เขาเหล่านี้จะมีการนำเสนอกันขนาดไหน...แล้วเรายังจะเท่าทันข้อมูลรู้ทันเจตนาหรือไม่ หรือ จะหลงติดกระแสไปแบบ เพลง ปากกา สับปะรด แอปเปิ้ล...เป็นเรื่องท้าทายครับ....

โดย เปลวไฟน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook