ความตายของสื่อสิ่งพิมพ์ ความท้าทายของสังคมอนาคต .?

ความตายของสื่อสิ่งพิมพ์ ความท้าทายของสังคมอนาคต .?

ความตายของสื่อสิ่งพิมพ์ ความท้าทายของสังคมอนาคต .?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นความท้าทายยิ่งของสังคมสมัยใหม่...ที่กำลังก้าวเดินไปสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 สังคมของโลกดิจิตอล สังคมที่โลกเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายอิเลคทรอนิคส์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม โลกของสังคมโซเชียลมีเดีย

ความเชื่อของของสังคมกระแสหลักเชื่อว่า คิดว่า สังคมเราจำเป็นต้องมุ่งหน้าไปสู่สังคม อิเลคทรอนิคส์มากขึ้น ๆ ในทุกมิติของชีวิตของสังคม ทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การผลิต การสังสรรค์ ฯลฯ ซึ่งภาพของสังคมในอนาคตจะเป็นอย่างไรเป็นสิ่งที่ยากแก่การคาดเดาได้

แต่วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้น และถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจที่สุด น่าตระหนกที่สุด...ก็คือ นวัตกรรมที่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นนวัตกรรมที่ล้ำค่า ทรงอิทธิพลที่สุดในรอบศตวรรษ ที่ผ่านมากำลังจะตาย กำลังจะหาย กำลังจะกลายเป็นสิ่งของไม่เป็นที่ต้องการของสังคมโดยรวมอีกต่อไปนั้นก็คือ...สื่อสิ่งพิมพ์

"หนังสือ" สื่อที่บรรจุสาระที่ทรงอิทธิพลที่สุดในรอบหลายร้อยปี สื่อที่ทำหน้าที่ในการสร้างสรรค์ รังสรรค์ปัญญาให้กับมวลมนุษย์ชาติ มานานแสนนาน ผ่านรูปแบบต่างๆที่เราคุ้นเคยกันดี ทั้ง หนังสื่อพิมพ์ วารสาร นิตยสาร พ็อกเก็ตบุ๊ค หรือแม้กระทั้ง แผ่นพับ กำลังจะล้มหายตายจากไปจริงๆหรือ...?

วันนี้ เราได้ยินข่าวการปิดตัวของสื่อสิ่งพิมพ์บ่อยขึ้น ทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทสาระและ บันเทิง ในขณะที่ พ็อกเก็ตบุ๊ค ก็มีน้อยรายมากที่จะมีการตีพิมพ์หนังสือออกมาแล้วขายดิบขายดี ได้เหมือนก่อนหน้า

การทยอยล้มหายของสื่อสิ่งพิมพ์ ในเมืองไทย ยิ่งน่าสนใจยิ่ง ว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อภาพรวมของสังคมไทยอย่างไรบ้าง

ในยุคที่ผ่านมา สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นขุมคลังแห่งปัญญาที่ถ่ายทอดให้กับคนในสังคม นอกเหนือจากสังคมในสถาบันการศึกษา ก็คือ สื่อสิ่งพิมพ์ ต่างๆ หนังสือในทุกรูปแบบ เป็นเสมือนหน้าต่างของการเปิดโลกทัศน์ของผู้คนให้ได้พบกับสิ่งใหม่ สิ่งที่ต่อยอดความรู้เดิม ขยายโลกทัศน์ของเราให้กว้างขวางเป็นปัญญาชน เป็นผู้ที่มีความคิดกว้างไกล แต่วันนี้ หนังสื่อต่างๆเหล่านั้นกลับทยอยปิดตัวลง เหมือนหน้าต่างไม้บานเก่าที่ถูกปิดลงๆ ไป

จริงอยู่ว่า ปัจจุบัน เรามีสื่อสมัยใหม่ ที่ทันสมัยและสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว เชื่อมโยงเชื่อมต่อได้ทั่วโลกเปรียบเสมือนหน้าต่างหลายมิติ ...แต่...คำถามก็คือ....คนปัจจุบันใช้หน้าต่างเหล่านี้ เพื่ออะไร....? สามารถปลูกถ่ายภูมิปัญญาให้กับคนได้มากน้อยเพียงใด...? คนปัจจุบันใช้หน้าต่างเหล่านี้เพื่อสร้างความรู้ความสามารถกันมากน้อยเพียงใด ...ใช้หน้าต่างเหล่านี้เพื่อความบันเทิง เพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน อยากรู้เรื่องของเหล่าคนดัง มากน้อยเพียงใด...?

สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายยิ่งของสังคมไทย....ที่เรามุ่งจะไปสู่ยุค 4.0 ยุคของการปฏิวัติอุสาหกรรมไปสู่ยุคดิจิตอล...ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆกำลังเดินหน้าไปไม่หยุดยั้ง แต่ คนของเราพร้อม และ เลือกที่จะใช้เครื่องมือมาสร้างภูมิปัญญา เพื่อสร้างสังคมในรูปแบบใดในอนาคต...เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่ง..?

โดย เปลวไฟน้อย.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook