กรมอนามัยแนะปชช.ออกเจควรปฏิบัติใน9ข้อ

กรมอนามัยแนะปชช.ออกเจควรปฏิบัติใน9ข้อ

กรมอนามัยแนะปชช.ออกเจควรปฏิบัติใน9ข้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมอนามัย แนะ ปชช. หลังออกเจ ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางหารอาหาร ตามหลัก 9 ข้อ

นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการบริโภคอาหารหลังหมดเทศกาลกินเจ ว่า ในช่วงกินเจติดต่อกันเป็นเวลา 9 วัน ส่งผลให้ร่างกายมีการปรับระบบการย่อยอาหารจากที่ย่อยเนื้อสัตว์มาเป็นผักแทน ดังนั้น เมื่อร่างกายต้องกลับมากินอาหารประเภทหนักๆ ตามปกติผู้บริโภคจึงต้องมีการปรับสภาพร่างกายด้วยการกินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ผักและผลไม้ก่อน หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยากประเภทเนื้อวัว เนื้อหมู เนื่องจากระยะแรกร่างกายต้องมีการปรับระบบการย่อยอาหารจากพืชผักมาเป็นเนื้อสัตว์ ซึ่งหากมีการบริโภคอาหารที่ย่อยยากในช่วงแรกอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยได้ โดยภายหลังจากที่ร่างกายสามารถปรับสภาพการย่อยอาหารได้กลับมาสู่ภาวะเดิม ผู้บริโภคจะสามารถกินอาหารตามปกติได้ และทางที่ดีควรกินอาหารตามข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า การกินอาหารตามโภชนบัญญัติจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วย 1. กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย 2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ 3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ 4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ โดยเด็กสามารถกินไข่วันละ 1 ฟอง ได้ทุกวัน แต่ผู้ใหญ่ควรกินไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง 5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย เพราะนมเป็นแหล่งโปรตีน วิตามินบี และแคลเซียม 6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอเหมาะ ซึ่งโดยปกติร่างกายควรได้รับไขมันในแต่ละวันไม่เกิน ร้อยละ 30 ของพลังงานที่ได้รับจากสารอาหารทั้งหมด 7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่หวานจัดและเค็มจัด 8. กินอาหาร ที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน และ 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคแต่ละคนจะได้รับปริมาณสารอาหารที่มากน้อยแตกต่างกัน โดยผู้ที่ได้รับสารอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้เกิดภาวะโภชนาการเกินตามมาได้


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook