ในหลวงกับการอนุรักษ์พันธุกรรมต้นยางนา

ในหลวงกับการอนุรักษ์พันธุกรรมต้นยางนา

ในหลวงกับการอนุรักษ์พันธุกรรมต้นยางนา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในหลวง กับการอนุรักษ์พันธุกรรม ทรงปลูกยางนา ต้นไม้จาก จ.เพชรบุรี เพื่อการศึกษาวิจัย

ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ที่ วังไกลกังวล หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเสด็จผ่าน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ทรงทอดพระเนตรสองข้างทางมีต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะสงวนป่ายางแห่งนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฏรทำไร่ ทำสวน ในบริเวณนั้นมาก จึงทรงเปลี่ยนวิธีด้วยการนำเอาเมล็ดยางนาบริเวณนั้นไปเพาะขยายพันธ์ที่พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล และทรงนำไปปลูกในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น จำนวน 1,096 ต้น แม้ยางนาจากแหล่งกำเนิดเหล่านั้นจะสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้น ยังอนุรักษ์ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา ซึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ของนักศึกษา นายบรรพต กำไลแก้ว อดีตนายกอบต.ถ้ำรงค์ พูดถึงความปลาบปลื้มปิติที่ในหลวงฯได้ทรงนำเมล็ดพันธ์ยางนาจาก ต.ถ้ำรงค์  อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี แห่งนี้ไปปลูกไว้ในวังสวนจิตรลดา ทรงสั่งสอนให้เห็นว่า ไม้ยางนานี้ เป็นไม้ที่มีประโยชน์ควรที่จะอนุรักษ์และปลูกเพิ่มกันไว้ เนื่องจากสามารถนำไม้ไปสร้างบ้านได้ แต่ก่อน ใช้น้ำยางมาทำขี้ไต้จุดไฟส่องแสงสว่างนำทาง เป็นเชื้อเพลงและเป็นยางรักษาโรค ปัจจุบันยางนาเกือบจะหมดไปเพราะเป็นไม้หวงห้าม ตนเองพร้อมด้วยชาวบ้านจึงรวบรวมเมล็ดพันธ์มาขยาย เพื่อให้เป็นไม้ประวัติศาสตร์ของชาวเพชรบุรี


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook