พระอัจฉริยภาพ : ด้านดนตรี

พระอัจฉริยภาพ : ด้านดนตรี

พระอัจฉริยภาพ : ด้านดนตรี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติประจำปีพ.ศ. 2529 ให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติทรงฝึกหัดดนตรีตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา ทรงเรียนเป่าแซกโซโฟนวิชาการดนตรี การเขียนโน้ต และสเกลต่าง ๆ ในแนวดนตรีคลาสสิคทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงสะสมไว้ไปซื้อคลาริเนตมาทรงฝึกเป่าและทรงหัดเป่าแซกโซโฟนกับเพลงจากแผ่นเสียงของวงดนตรีที่มีฝีมือ เช่น Johnny Hodges และ Sidney Bechet ทรงโปรดดนตรีประเภท Dixieland Jazz มาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องดนตรีได้ดี หลายชนิดทั้งประเภทเครื่องลม เช่น แซกโซโฟน คลาริเนต และประเภทเครื่องทองเหลืองเช่น ทรัมเปต รวมทั้งเปียโน และกีตาร์ที่ทรงฝึกเพิ่มเติมในภายหลังเพื่อประกอบการพระราชนิพนธ์เพลงและเพื่อทรงดนตรีร่วมกับ วงดนตรีส่วนพระองค์ชื่อ "อ.ส. วันศุกร์"ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงร่วมบรรเลงกับสมาชิกของวงออกกระจายเสียงทางสถานีวิทยุเป็นประจำทุกวันศุกร์ในบางครั้งทรงจัดรายการเพลง

เลือกแผ่นเสียงเอง และโปรดเกล้าฯให้มีการขอเพลงจากพสกนิกร และจะทรงรับโทรศัพท์ด้วยพระองค์เอง
เพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีจำนวนทั้งสิ้น 48 เพลงทั้งพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและพระราชนิพนธ์เฉพาะทำนอง เพลงพระราชนิพนธ์ที่เป็นรู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ "แสงเทียน" (ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก) "ยามเย็น" "ใกล้รุ่ง" "สายฝน" "พรปีใหม่" "ความฝันอันสูงสุด" "เราสู้" "แว่ว" และ "ชะตาชีวิต"

ขอบคุณข้อมูล สำนักสื่อสารองค์กร สำนักงาน กสทช.
เครดิตภาพ สำนักพระราชวัง และ เพจเฟสบุ๊ค Information Division of OHM

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook