"5 ข้อมูลควรรู้" ก่อนเข้าถวายสักการะ "พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"

"5 ข้อมูลควรรู้" ก่อนเข้าถวายสักการะ "พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"

"5 ข้อมูลควรรู้" ก่อนเข้าถวายสักการะ "พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อมูลการแต่งกาย, จุดรับบัตรคิว, ขนส่งมวลชน, ห้องสุขา, จุดนัดพบ ก่อนเข้าถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันที่ 29 ตุลาคม จะเป็นวันแรกที่ทาง สำนักพระราชวัง ได้เปิดให้ประชาชน ได้เข้าถวายสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ซึ่งแน่นอนว่า น่าจะมีพสกนิกรชาวไทยจำนวนมาก ที่จะเดินทางเข้าไปถวายสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันแรก

วันนี้ทีมงานสนุกดอทคอม ขอรวบรวมข้อมูลในส่วนที่น่าจะเป็นประโยชน์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบว่าข้อมูลตรงไหนที่ควรรู้บ้าง



1. การแต่งกาย

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับการแต่งกายเข้าถวายสักการะ ซึ่งสำนักพระราชวังได้ออกประกาศขอความร่วมมือให้ทุกคนแต่งกายสุภาพไว้ทุกข์สีดำ ชุดชาวเขาสำหรับชาวเขา ชุดลูกเสือสำหรับลูกเสือ ชุดนักเรียน

นิสิต นักศึกษาที่ถูกต้องตามระเบียบของสถานศึกษานั้นๆ

สุภาพบุรุษ ขอความกรุณาสวมเสื้อมีปกสีดำ กางเกงขายาวสีดำ รองเท้าหุ้มส้นสีดำ และงดสวมกางเกงยีนส์ สุภาพสตรี ขอความกรุณาสวมชุดสุภาพสีดำ มีแขน ไม่รัดรูป กระโปรงยาวคลุมเข่า หรือ ผ้าถุง รองเท้าหุ้มส้นสีดำ

และงดสวมกระโปรงยีนส์



2. จุดรับบัตรคิว เพื่อเข้าถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เนื่องจากจะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร อีกทั้งในวันแรกยังเป็นวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ทำให้คาดการณ์กันว่าจะมีประชาชนจำนวนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการรับบัตรคิว

ทางกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย (กอร.รส.) ได้ออกมาเปิดเผย พร้อมกับแนะนำว่าตอนนี้ ได้จัดจุดรับบัตรคิวจากเดิมที่อยู่ทางฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้ายไปอยู่ฝั่งตรงข้ามศาลฎีกา

โดยพร้อมจัดคิวให้ประชาชนเข้าสักการะพระบรมศพ แบบกำหนดเวลาที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้ประชาชนรอนาน สามารถออกไปผ่อนคลายได้โดยไม่ต้องนั่งรอคิวทั้งวัน

ทั้งนี้ สำนักพระราชวังจะเปิดให้เข้าสักการะพระบรมศพ ตั้งเเต่เวลา 08.00-21.00 น. ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะมีพระราชพิธี 4 รอบ เมื่อหักเวลาพระราชพิธีออกไปแล้วจะเหลือเวลาในการเข้าถวายสักการะ 8 ชั่วโมง จากการคำนวณของเจ้าหน้าที่ในเบื้องต้นรอบละ 70 คน ใช้เวลา 5 นาที ดังนั้น 1 ชั่วโมง จะได้ประมาณ 840 คน  เมื่อรวม 8 ชั่วโมง จะได้ 6,720 คน

และอาจขยายเวลาให้ยืดหยุ่นเพิ่มเติมเพื่อรองรับประชาชนให้ได้ 10,000 คนต่อวัน รวมประชาชนที่ทางกระทรวงมหาดไทยจัดมาจากต่างจังหวัด 3,000 คนด้วย



3. ห้องสุขา

แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย โดยสุขาเคลื่อนที่ของกทม. จะอยู่บริเวณรอบสนามหลวง และ โดยรอบพระบรมมหาราชวัง

แต่ถ้าอยากจะเข้าสุขาเคลื่อนที่แบบติดแอร์ ก็ไปใช้บริการของ "Heaven toilet" ซึ่งคู่สามีภรรยาที่ชอบช่วยเหลือสังคมอย่าง สำหรับ นุ่น วรนุช และ ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้บริหารบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น

ที่ได้จัดส่งรถสุขาเคลื่อนที่ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของทั้งคู่มาให้บริการประชาชน โดยรถสุขาสะอาดเอี่ยมน่าใช้ จำนวน 2 คัน จะจอดให้บริการอยู่ในราชนาวีสโมสร ตั้งแต่เวลา 10.00 - 19.00 น.



4. จุดนัดพบ

ต้องบอกว่า การเดินทางมายัง พระบรมมหาราชวัง หากใครที่ยังมีจุดนัดพบกับญาติพี่น้อง เราขอแนะนำจุดต่างๆ ที่น่าจะป็นประโยชน์ หากต้องนัดกับญาติพี่น้อง
- ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม
- ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
- หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (สวนเจ้าเชตุ)
- ราชนาวีสโมสร
- สนามหลวงฝั่งตรงข้ามประตู เทวาภิรมย์



5. ระบบขนส่งมวลชน

สถานที่จุดรับ-ส่งประชาชนเดินทางถวายสักการะพระบรมศพ

ตามประกาศสำนักพระราชวังที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถวายสักการะและเข้าเฝ้าถวายบังคมพระบรมศพ ในพระบรมมหาราชวัง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2559 เป็นต้นไป เพื่อ

เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชน กองบังคับการตำรวจจราจรจึงขอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจราจรให้ทราบเพิ่มเติม ดังนี้

1. การอำนวยความสะดวกประชาชนที่เดินทางมาร่วมพระราชพิธี กำหนดที่จอดรถให้ 4 จุด คือ

1) หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง

1.1 จุดส่ง : แยกคอกวัว

1.2 จุดรับ : หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์

2) หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (วงเวียน รด.)

3) ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า หน้าสำนักงานท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ถนนพระอาทิตย์

4) หน้ากองสลากเก่า ถนนราชดำเนินกลาง

4.1 จุดส่ง : หน้ากองสลาก (เก่า)
4.2 จุดรับ : ใกล้แยกคอกวัว

1.2 ขสมก. จัดรถส่งประชาชน(เพิ่มเติม) หลังเสร็จสิ้นการถวายบังคมพระบรมศพ

- โดยจะจอดรถรอส่งประชาชนบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ใกล้แยกผ่านภิภพ)

- ฝั่งขาออกนอกเมืองไปทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 10 คันฝั่ง และ ฝั่งเข้าเมือง 10 คัน

1.3 ประชาชนที่นำรถยนต์ส่วนตัวเข้ามา กำหนดจุดจอดรถให้ 9 แห่ง ได้แก่

1) ทิศเหนือ จำนวน 2 แห่ง คือ
1.1 อิมแพคเมืองทองธานี รองรับรถได้ จำนวน 5,000 คัน
1.2 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต รองรับรถได้ จำนวน 1,500 คัน (ส่งจุดที่ 1)

2) ทิศใต้ จำนวน 3 แห่ง คือ
2.1 ลานพุทธมณฑลสาย 4 รองรับรถได้ จำนวน 5,000 คัน (ส่งจุดที่ 4)
2.2 เซ็นทรัล ศาลายา รองรับรถได้ จำนวน 1,800 คัน (ส่งจุดที่ 4)
2.3 เซ็นทรัล พระราม 2 รองรับรถได้ จำนวน 3,700 คัน (ส่งจุดที่ 2)

3) ทิศตะวันออก จำนวน 1 แห่ง คือ
- เมกกะบางนา รองรับรถได้ จำนวน 1,000 คัน (ส่งจุดที่ 2)

4) ทิศตะวันตก จำนวน 1 แห่ง คือ
- เซ็นทรัล เวสต์เกต รองรับรถได้ จำนวน 1,000 คัน

5) รอบใน จำนวน 2 แห่ง คือ
5.1 สโมสรตำรวจ รองรับรถได้ จำนวน 400 คัน (ส่งจุดที่ 1)
5.2 แอร์พอทลิ้งค์ มักกะสัน รองรับรถได้ จำนวน 1,000 คัน (ส่งจุดที่ 1)


โดย ขสมก. จะจัดรถ Shuttle Bus เพื่อ รับ-ส่ง จากจุดจอดรถมายังสนามหลวง
1.4 กรณีการให้บริการรถรางรับ-ส่งประชาชนบริเวณสนามหลวง ของ กรุงเทพมหานคร
- ให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น.

1) รถที่ให้บริการ จำนวน 4 คัน แบ่งเป็น
1.1 รถรางชั้นเดียว จำนวน 2 คัน รองรับผู้โดยสารได้คันละ 35 คน
1.2 รถลอนดอนบัส 2 ชั้น จำนวน 2 คัน รองรับผู้โดยสารได้คันละ 70 คน

2) เส้นทางที่ให้เดินรถราง ในวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2559

(จุดรับ-ส่ง บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)

เริ่มต้นจากพิพิธภัณฑ์ฯ - เลี้ยวซ้ายซอยราชินี - ถนนพระอาทิตย์ - ถนนพระสุเมรุ -
ป้อมมหากาฬ - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - ถนนราชดำเนินกลาง - แยกผ่านภิภพ -
ซอยราชีนี - พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชติ (วน)

1.5 กรณีที่ประชาชนเดินทางเป็นคณะโดยรถบัส ให้ขับรถส่งประชาชนได้ 2 จุด คือ

1) หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง
2) หน้ากองสลากเก่า ถนนราชดำเนินกลาง

เมื่อส่งประชาชนแล้วให้นำรถไปจอดในพื้นที่ที่กำหนดให้ 5 จุด คือ
1) ถนนพุทธมณฑลสาย 1 จำนวน 400 คัน
2) ถนนพุทธมณฑลสาย 2 จำนวน 500 คัน
3) ถนนกาญจนาภิเษก จำนวน 500 คัน
4) สถานีขนส่งสายใต้เก่า จำนวน 150 คัน
5) ถนนไฟฉาย - ถนนกาญจนาภิเษก จำนวน 500 คัน

1.6 ข้อเสนอแนะการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนเพิ่มเติม

1) การเดินทางโดยรถไฟ (รฟท.)
- ลงสถานีหัวลำโพง ต่อรถ Shuttle Bus ของ ขสมก.
- ลงสถานีธนบุรี ต่อเรือท่าน้ำศิริราช เพื่อขึ้นท่าช้าง

2) การเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS
- ลงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สถานีวงเวียนใหญ่ ต่อรถ Shuttle Bus ของ ขสมก.

3) การเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
- ลงสถานีหัวลำโพง ต่อรถ Shuttle Bus ของ ขสมก.

4) การเดินทางทางเรือ
- แม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นท่าช้าง
- คลองแสนแสบ ขึ้นท่าผ่านฟ้า
- คลองผดุงกรุงเกษม ขึ้นท่าเทเวศร์

จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับทราบ หากต้องการสอบถามข้อมูลเส้นทาง แจ้งอุบัติเหตุจราจร และข้อมูลสภาพจราจรเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลข

โทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ WWW.TRAFFICPOLICE.GO.TH

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook