สธ.เดินหน้าโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย

สธ.เดินหน้าโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย

สธ.เดินหน้าโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เดินหน้าโครงการพระราชดำริ แหลใผักเบี้ย เพชรบุรีต่อเนื่อง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เกิดขึ้นมาจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงห่วงใยปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการวิจัยบำบัดมลพิษในเขตเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะและ น้ำเสีย โดยการใช้กระบวนการทางธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะชุมชน ที่ประหยัด สะดวก ทำได้ง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศได้อย่างกว้างขวาง เริ่มจากการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้หญ้าและพืชชายเลนเป็นตัวกรอง น้ำที่ได้รับการบำบัดสามารถปล่อยลงสู่ทะเลได้อย่างปลอดภัย และมีการแยกขยะมูลฝอย โดยแยกส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ไปหมักทำปุ๋ยสำหรับใช้บำรุงดิน หรือนำไปถมพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อปลูกป่าชายเลน แต่ยังพบปัญหา แหล่งเพาะพันธุ์ยุงซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง

นายแพทย์สุขุม กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ส่งคณะผู้วิจัยเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อทำการศึกษาการดำเนินงานตามโครงการฯ พบว่าการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีบ่อผึ่ง สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อโรคอุจจาระร่วง พาราสิต โลหะหนักในน้ำและดินตะกอนได้ในช่วงระบบบำบัด ตลอดจน ไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบเอซึ่งติดต่อทางอาหาร เช่นเดียวกับสารเคมีกำจัดแมลงประเภทออร์กาโนคลอรีน ทั้งในน้ำ และดินตะกอน นอกจากนี้การสำรวจความชุกของยุงบริเวณโครงการและบ้านประชาชนใกล้เคียง พบลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ยุงก้นปล่องพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ยุงรำคาญพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และยุงเสือหรือยุงลายเสือพาหะนำโรคเท้าช้าง ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้ความรู้ด้านการควบคุมโรคระบาดจากยุงแก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ ส่วนการศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อโรคในปุ๋ยหมักจากขยะและการกำจัดด้วยรังสีสรุปได้ว่า ขยะที่นำมาหมักเป็นปุ๋ยยังตรวจพบเชื้อก่อโรคลำไส้และพยาธิลำไส้ จำเป็นต้องนำมาผ่านกรรมวิธีการลดปริมาณเชื้อโรคโดยการฉายรังสี


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook