วิษณุยันปมรถเมล์NGVยึดตามข้อกฎหมาย

วิษณุยันปมรถเมล์NGVยึดตามข้อกฎหมาย

วิษณุยันปมรถเมล์NGVยึดตามข้อกฎหมาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'รองนายกฯวิษณุ' ยัน ปม รถเมล์ NGV ยึดตามข้อกฎหมาย มั่นใจ ขสมก. ไม่มีความผิด อาญา ไม่ฟันธง ได้ใช้รถก่อนสิ้นปีหรือไม่

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงการทำสัญญาระหว่างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กับบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ในการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี ว่า ในระหว่างที่ทำสัญญาไม่ได้มีการระบุว่ารถต้องมาจากประเทศใด แต่ บริษัท เบสท์ริน ได้ระบุเองว่า จะนำรถจากประเทศจีนมาประกอบในประเทศมาเลเซีย แต่กรมศุลกากร ตรวจสอบแล้วพบว่า รถดังกล่าวผลิตและประกอบในประเทศจีน ซึ่งหากผลิตประเทศจีนจะต้องเสียภาษีอากรนำเข้าร้อยละ 40 แต่หากหลังการตรวจสอบใน 1 เดือนจากนี้ พบว่า บริษัท เบสท์ริน สำแดงในภาษีอากรตรงตามที่ระบุ ก็ไม่ต้องเสียภาษีอากรการนำเข้าและค่าปรับ เสียเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เท่านั้น 

ทั้งนี้ นายวิษณุ ระบุว่า เมื่อ ขสมก. มีความจำเป็นต้องใช้รถและผลการเจรจาระหว่างบริษัท ซูเปอร์ซาร่า ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำสัญญาส่งมอบรถให้บริษัท เบสท์ริน ยืนยันว่าจะต้องมีการปล่อยรถ 100 คันแรกออกไป บริษัท ซูเปอร์ซาร่า จึงต้องนำแบงก์มาการันตีค่าปรับ 250 ล้านบาท และหลังจากนี้หากตรวจสอบพบว่ารถเมล์ดังกล่าวผลิตในประเทศมาเลเซียจริง กรมศุลกากรจะคืนเงินที่แบงค์การรันตีไว้และความผิดก็จะหมดไป เหมือนกรณีรถดับเพลิง แต่หากไม่ใช่ก็ทำการยึดเงินในส่วนดังกล่าว โดยระหว่างนี้บริษัท ซูเปอร์ซาร่า ต้องนำรถให้บริษัท เบสท์ริน เพื่อส่งต่อให้ ขสมก. นำไปใช้ภายในสิ้นปีนี้ หากได้รับรถเมล์ก็จะรถไป ขสมก. จะทำการทดสอบก่อนชำระเงิน ส่วนรถเมล์ล็อตอื่น ๆ ก็ให้เป็นไปตามการสำแดงอากรในครั้งถัดไป แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ขสมก. จะได้รถเมล์มาใช้ทันปีนี้หรือไม่

ทั้งนี้ นายวิษณุ ยืนยันว่า ขสมก. ไม่มีความผิดอาญา เนื่องจากไม่ได้สมรู้ร่วมคิดใด ๆ ขณะเดียวกัน รถเมล์ที่ได้มาก็ไม่ใช่ของโจรแต่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย 


นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวไม่ทราบว่า การเข้าไปเป็นที่ปรึกษาบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) ของ พล.ต.อ.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม หรือไม่ เพราะยังไม่มีกฎหมาย ต้องไปดูข้อกฎหมายคณะกรรมการป้องกัน

และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และส่วนตัวไม่ทราบข้อกฎหมายและระเบียบของตำรวจ แต่ถ้าเป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการจะไปเป็นกรรมการบริหารของบริษัทไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นข้าราชการต้องทำงานประจำ ดังนั้นจะไปทำงานสองที่ ถือว่าผิดกฎหมาย 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook