อึ้ง! คนไทยติดอันดับ 7 ของโลก “ไม่รู้เรื่องประเทศตัวเองเลย”

อึ้ง! คนไทยติดอันดับ 7 ของโลก “ไม่รู้เรื่องประเทศตัวเองเลย”

อึ้ง! คนไทยติดอันดับ 7 ของโลก “ไม่รู้เรื่องประเทศตัวเองเลย”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

28 ธ.ค. 59 — Ipsos MORI สถาบันวิจัยสังคมลอนดอน ซึ่งเป็นบริษัทด้านการตลาดและการทำผลสำรวจชื่อดังของอังกฤษ เปิดเผยดัชนี Ignorant Index (ดัชนีความไม่รู้เรื่องรู้ราว) ประจำปี 2016 ของประชากร วัย 16 – 24 ปี ใน 40 ประเทศ จำนวน 27,000 คน เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในประเทศของตัวเอง อาทิ จำนวนประชากร, ระบบสวัสดิการสาธารณสุข, การซื้อบ้าน และจำนวนชาวมุสลิมในประเทศ ฯลฯ เพื่อนำคะแนนที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีชี้วัด "ความไม่รู้เรื่องรู้ราว" ของประชากรในแต่ละประเทศ

"วัยรุ่นช่วงอายุ 16 – 24 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์มากที่สุด"

ผลการสำรวจความเห็นครั้งนี้ของบริษัทเมืองผู้ดีนั้น เรียกว่า.. ได้คำตอบที่น่าแปลกใจพอสมควร เนื่องจากประเทศที่มีพลเมืองไม่รู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับประเทศของตัวเองมากที่สุดในโลก มีตั้งเเต่ประเทศพัฒนาแล้วและยังไม่พัฒนาเต็มที่ ประเทศร่ำรวยและยากจน รวมถึงประเทศที่เป็นและไม่เป็นประชาธิปไตย

โดยลำดับประเทศที่ประชากร "ไม่รู้เรื่องรู้ราว" ประเทศตัวเองมากที่สุดในโลก 10 อันดับเเรก คือ 1.อินเดีย 2.จีน 3.ไต้หวัน 4.เซาธ์แอฟริกา 5.สหรัฐฯ 6.บราซิล 7.ไทย 8.สิงคโปร์ 9.ตุรกี และ 10.อินโดนีเซีย

ส่วน 10 อันดับประเทศที่ประชากร "รู้เรื่องรู้ราว" ประเทศตัวเองมากที่สุดในโลก คือ 1.เนเธอร์เเลนด์ 2.สหราชอาณาจักร 3.เกาหลีใต้ 4.เช็ก 5.มาเลเซีย 6.ออสเตรเลีย 7.เยอรมนี 8.อิตาลี 9.นอร์เวย์ และ 10.สวีเดน

ด้าน "บ๊อบบี้ ดัฟฟี่" กรรมการผู้จัดการ บริษัท Ipsos MORI สถาบันวิจัยสังคมลอนดอน กล่าวว่า "40 ประเทศที่ผลสำรวจมาจากประชากรได้รับการศึกษา พบว่า แต่ละคนได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก เรามักจะพบสิ่งไม่ถูกต้องมากที่สุดในปัจจัยที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลายในสื่อ เช่น สัดส่วนของประชากรที่เป็นมุสลิมความมั่งคั่งเเละความไม่เท่าเทียมกัน เรารู้จากการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ว่านี้ คือ ส่วนหนึ่ง เเละมันออกมามากกว่าสิ่งที่เรากังวลเเละประมาณการ"

แต่ในการศึกษาครั้งใหม่นี้ เรายังแสดงให้เห็นว่า เรามักจะคิดหรือทำสิ่งเกินควรในแง่ร้ายเกี่ยวกับวิธีการเกี่ยวกับความสุขคน และความอดทนของเรา เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้ง เช่น การรักร่วมเพศ, เพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานและการทำแท้ง ในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซนตะวันตก เรามีภาพของประชากรมีความสุขเกินควรและมีทิฐิสูง

"เรารู้ว่าสิ่งที่ผู้คนคิดว่า มันเป็นบรรทัดฐานที่มีความสำคัญเเละส่งผลกระทบต่อมุมมองของตัวเองและพฤติกรรม"

จากการต่อสู้ของเรากับการผสมที่เรียบง่ายและสัดส่วนการคุ้มครองสื่อ ของปัญหา คำอธิบายจิตวิทยาสังคมของทางลัด จิตของเราหรืออคติมีเหตุผลหลายข้อผิดพลาด นอกจากนี้ ยังเป็นที่ชัดเจนจาก "ดัชนีความไม่รู้" ของเรา ประเทศที่มีแนวโน้มที่จะทำเรื่องเลวร้ายที่สุด คือ มีการเเผ่ขยายของอินเทอร์เน็ตค่อนข้างต่ำ การได้รับคำตอบจากสิ่งนี้ คือ การสำรวจออนไลน์จะสะท้อนให้เห็นถึงความจริงมากขึ้นของชนชั้นกลางและจำนวนประชากรที่เกี่ยวโยงกัน เเละควรคิดถึงส่วนที่เหลือในประเทศของตัวมากขึ้น เช่น พวกเขาควรรู้มากกว่าสิ่งที่พวกเขารับรู้"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook