ปธ.ศาลฎีกาออกคำแนะนำหลักเกณฑ์รอกำหนดโทษ

ปธ.ศาลฎีกาออกคำแนะนำหลักเกณฑ์รอกำหนดโทษ

ปธ.ศาลฎีกาออกคำแนะนำหลักเกณฑ์รอกำหนดโทษ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'ประธานศาลฎีกา' ออกคำแนะนำยกหลักเกณฑ์วิธีการรอกำหนดโทษ -รอการลงโทษ-คุมประพฤติ ปี 59 ให้ผู้พิพากษากล้าใช้ดุลพินิจ

นายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยถึงการแก้ไขกฎหมายในช่วงปี 2559 ว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันมีผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลให้ลงโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำ ประมาณ 300,000 คน มากกว่าจำนวนผู้ต้องขังที่สามารถรับได้ ทำให้ระยะหลังนี้มีแนวคิดเรื่องการเบี่ยงเบนการลงโทษจำคุกเกิดขึ้น ซึ่งศาลยุติธรรมเข้าใจปัญหานี้ดี จึงได้มีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 25 พ.ศ.2559 แก้ไขหลักเกณฑ์การรอการลงโทษ รอการกำหนดโทษ และการคุมความประพฤติ ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว โดย นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ได้มีคำแนะนำเรื่องนี้โดยออกเป็นคำแนะนำประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับวิธีการรอการกำหนดโทษ, รอการลงโทษ และกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ พ.ศ.2559 ขณะที่ นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวเสริมถึงรายละเอียดคำแนะนำประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับวิธีการรอการกำหนดโทษฯ ว่า นายวีระพล ประธานศาลฎีกา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการหลีกเลี่ยงการลงโทษจำคุกในระยะสั้น และส่งเสริมให้นำวิธีการต่างๆ ที่บัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มาใช้ จึงออกเป็น "คำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับวิธีการ รอการกำหนดโทษ กับรอการลงโทษ และการกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ พ.ศ.2559 " ซึ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 ต.ค.59 ที่ผ่านมาโดยมีรายละเอียดสาระสำคัญ 16 ข้อ มีหลักเกณฑ์สำคัญให้ผู้พิพากษาใช้พิจารณาประกอบดุลพินิจได้อย่างเหมาะสม ที่จะได้มาจากข้อมูลต่างๆ จากการสอบถามจำเลย จากสำนวนการสอบสวน หรือรายงานการสืบเสาะพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติ โดยศาลอาจใช้ดุลพินิจรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษไว้ นายสืบพงษ์ โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวอีกว่า เมื่อมีการออกเป็นคำแนะนำประธานศาลฎีกาเรื่องนี้แล้ว ความจำเป็นที่จะให้มีการพิจารณาเรื่องกฎหมายชะลอฟ้องที่เคยเสนอกันเพื่อแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นคุกนั้น ก็ผ่อนคลายลงไป โดยเป็นการใช้อำนาจตุลาการตรวจสอบคดีที่มีการฟ้องคดีขึ้นมา ซึ่งศาลจะใช้ดุลพินิจพยานหลักฐานว่ามีความผิดหรือไม่ ถ้ามีความผิดควรใช้มาตรการลงโทษระดับใด มิใช่การใช้อำนาจชะลอฟ้องไปก่อนจะฟ้องคดี


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook