สุวิทย์คาดสัปดาห์นี้ชัดชื่อรองนายกฯดูแลป.ย.ป.

สุวิทย์คาดสัปดาห์นี้ชัดชื่อรองนายกฯดูแลป.ย.ป.

สุวิทย์คาดสัปดาห์นี้ชัดชื่อรองนายกฯดูแลป.ย.ป.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'สุวิทย์' คาด สัปดาห์นี้ชัดเจน ชื่อ 4 รองนายกฯ ดูแล ป.ย.ป. แต่ละคณะ พร้อมเพิ่มบทบาทการทำงานวิป 3 ฝ่าย - แจงตั้ง พีเอ็มดียู คาดต้องใช้ ม.44 ดำเนินการ

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) เปิดเผยว่า ได้หารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี และ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. ถึงการทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมการปฏิรูป และได้เสนอให้เพิ่มบทบาทของวิป 3 ฝ่าย ครม. สนช. สปท. จากเดิมที่มีเพียงตัวแทนมาคุยกัน ให้เพิ่มกรรมาธิการของ สนช. และ สปท. มาร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปและสร้างความปรองดองด้วย เป็นการแปลงวิป 3 ฝ่าย เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ของ ป.ย.ป. ส่วนรายชื่อรองนายกรัฐมนตรี ที่จะมานั่งใน 4 คณะย่อย นั้น คาดว่าในสัปดาห์นี้จะมีความชัดเจน 

ขณะที่การจัดตั้งสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พีเอ็มดียู) โดยคาดว่าจะต้องใช้อำนาจตามาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อจัดตั้งสำนักงานนี้ โดยวางโครงสร้างองค์กรให้สามารถตั้งขึ้นง่ายยุบง่าย 2 ปี ต้องจบ หากรัฐบาลหน้าจะทำต่อก็สามารถทำได้ โดยจะดึงคนที่มีความรู้ความสามารถจากภายนอกเข้ามาทำงาน และต้องมีความคล่องตัว มีงบประมาณเป็นของตัวเอง เบื้องต้นจะเสนอให้แต่งตั้งผู้ช่วยรัฐมนตรี ที่ยังว่างอยู่เข้าให้มาทำงานปฏิรูประดับบัญชาการ 10 เรื่อง นอกจากนี้ จะสรรหาบุคคลภายนอกที่มีประสิทธิภาพมาทำงาน ไม่เกิน 10 คน

ส่วนบทบาทของพีเอ็มดียู จะเน้นการตรวจสอบติดตามประเมินผลการทำงานของ ป.ย.ป. ที่สำคัญ คือ สามารถปลดล็อกปัญหาต่างๆ ได้ โดยรายงานตรงต่อนายกฯ แต่จะไม่ล้ำเส้นบทบาทของรองนายกรัฐมนตรี ผลงานที่ออกมาจะเป็นของรัฐบาลไม่ใช่พีเอ็มดียู เพราะเป็นเพียงเครื่องมือที่จะทำให้เกิดผล

พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า ในวันที่ 17 ม.ค. มีกำหนดการหารือกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อหารือถึงโครงสร้างคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นการหาแนวทางว่าการสร้างความปรองดองจะผนวกรวมกับการปฏิรูปได้อย่างไร


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook