วิษณุเผยนายกขอพระราชทานร่างรธน.คืน17ม.ค.

วิษณุเผยนายกขอพระราชทานร่างรธน.คืน17ม.ค.

วิษณุเผยนายกขอพระราชทานร่างรธน.คืน17ม.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รองนายกฯ 'วิษณุ' เผยนายกรัฐมนตรี ขอพระราชทานร่าง รธน.ฉบับประชามติคืนมาแก้ไข พรุ่งนี้ - ระบุ มีชื่อบุคคลร่วมคณะ ป.ย.ป. แล้ว ขออย่าเพิ่งวิจารณ์ปรองดอง หนุนแยกคู่ขัดแย้งคุยวงนอก

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีการตั้งกรรมการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติเพิ่มเข้าไปอีก 1 คน คือ นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) รวมทั้งสิ้น 11 คน นอกจากนี้ ยังมีการแต่งตั้งให้ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและเลขานุการกรธ. เป็นเลขานุการคณะกรรมการชุดดังกล่าว โดยการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มอีก 1 คนครั้งนี้ เพื่อรองรับกรณีองค์ประชุมไม่ครบ เพราะได้รับแจ้งจากกรรมการหลายคนว่าจะเดินทางไปต่างประเทศ แต่การประชุมนั้นจะต้องมีการประชุมกันถี่มาก

ทั้งนี้ คณะกรรมการจะประชุมกันครั้งแรกในวันที่ 17 มกราคม เพื่อเตรียมการในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ซึ่งพอรู้อยู่แล้วบ้างว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร โดยคณะกรรมการจะใช้เวลาแก้ไขให้เร็วกว่า 15 วัน เพื่อเหลือเวลาให้กองอาลักษณ์ได้มีเวลาเขียนลงในสมุดไทย รวมกระบวนการทั้งหมดนายกฯ จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 30 วัน จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ขอพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติกลับคืนมา ซึ่งคาดว่านายกฯจะขอพระราชทานในวันที่ 17 ม.ค. นี้

ขณะที่การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า ได้รับมอบหมายให้ดูแลคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ใน ป.ย.ป. ซึ่งจะมาดูโครงการงานสำคัญเร่งด่วน รวมทั้งเรื่องที่มีความขัดแย้งในหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อกลั่นกรองสะสาง ก่อนนำเรื่องเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี โดยได้หารือกับนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ในฐานะเลขานุการป.ย.ป.เรียบร้อยแล้ว ทั้งเรื่องของของการวางตัวบุคคลมาเป็นกรรมการ ซึ่งขณะนี้ได้ตัวบุคคลบ้างแล้วโดยจะต้องไปคุยกับรองนายกฯ คนอื่นที่ดูแลคณะกรรมการในชุดที่เหลือว่าจะมีข้อเสนออย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ที่มีการวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของคนที่จะมาร่วมเป็นกรรมการด้านการปฏิรูปและปรองดองนั้น คิดว่าเวทีดังกล่าวไม่ใช่เวทีที่จะนำคู่กรณีมาโหวตและตัดสินกัน แต่เห็นว่าควรนำคนที่ไม่ใช่คู่กรณีในความขัดแย้งแต่ละเรื่องเข้ามาร่วมเป็นกรรมการ เพื่อที่คณะกรรมการจะช่วยหาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในเรื่อง ส่วนคนที่เป็นคู่ขัดแย้งกันจริงไปคุยกันอยู่ข้างนอก ซึ่งเคยมีการรวบรวมสมัยที่ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ประมาณ 20 เรื่อง อาทิ ความขัดแย้งของสีเสื้อ เรื่องเขื่อนปากมูล เรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่องเพศ เป็นต้น


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook