เลขาฯป.ป.ช.แจงวิธีการนับคะแนนCIPของIHS

เลขาฯป.ป.ช.แจงวิธีการนับคะแนนCIPของIHS

เลขาฯป.ป.ช.แจงวิธีการนับคะแนนCIPของIHS
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาฯ ป.ป.ช. แจงวิธีการนับคะแนนCIP ของIHS องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศผลทางการ 25 ม.ค.นี้

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. กล่าวว่า องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) จะมีการประกาศค่าคะแนน Corruption Perceptions Index (CPI) ของปี 2559 ในวันพุธที่ 25 ม.ค.นี้ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ค่า CPI ที่วัดดัชนีการรับรู้การทุจริตประเทศไทย โดยอาศัยข้อมูลจาก 8 แหล่งข้อมูล โดย 1 ในนั้น มาจาก ดัชนีที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท Information Handling Services (IHS)ซึ่ง เป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการดำเนินธุรกิจ การวิจัยตลาด และการให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ปัจจุบันได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับรัฐบาลและบริษัทเอกชนมากกว่า 165 ประเทศ โดยค่าดัชนี GI เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนหนึ่งของบริการ เป็นการประเมินเพื่อให้ลูกค้าหรือนักลงทุนเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของการลงทุนใน 204 ประเทศ เพื่อให้การลงทุนมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยง และสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้ จะมีการการวิเคราะห์การประเมินความเสี่ยงใน 6 ปัจจัยสำคัญ ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ภาษี การบริหาร และความมั่นคง โดยคะแนนความเสี่ยงของการ คอร์รัปชันที่นำมาวิเคราะห์ มาจากการประเมินความเสี่ยงในปัจจัยด้านการบริหารเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้เชี่ยวชาญจะสอบถามเพื่อประเมินการคอร์รัปชันในประเด็น ดังนี้ ปัญหาการคอร์รัปชันที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจ เน้นการวิเคราะห์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้านการเมืองและเศรษฐกิจต่อปัญหาดังกล่าว และ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชันที่ส่งผลต่อการขอใบอนุญาตทางธุรกิจ และนโยบายที่เอื้อประโยชน์และการตัดสินใจวางแผนต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการประเมินเพื่อให้คะแนนจะแบ่งเป็นช่วง ตั้งแต่เป็นการให้สินบนในระดับเล็กน้อยจนถึงระดับสูงคือการคอร์รัปชันของภาคการเมือง ค่าคะแนนของ GI จะอยู่ในช่วง 1 ถึง 5 คะแนน โดยค่าคะแนน 1 หมายถึงมีระดับความเสี่ยงน้อยที่สุด จนถึงค่า 5 หมายถึง มีความเสี่ยงมากที่สุด


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook