วิลาศชี้ไทยคอร์รัปชั่นมากเพราะระบบพวกพ้อง

วิลาศชี้ไทยคอร์รัปชั่นมากเพราะระบบพวกพ้อง

วิลาศชี้ไทยคอร์รัปชั่นมากเพราะระบบพวกพ้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'วิลาศ' ชี้ ไทยมีคอร์รัปชั่นมาก เพราะยึดระบบพวกพ้อง คนในสังคมไม่กล้าเปิดโปง อยากให้ ปปง. มีอำนาจตรวจสอบด้วย

นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.พรรคประขาธิปัตย์ กล่าวว่า สาเหตุที่ประเทศไทยมีการคอร์รัปชั่นเป็นจำนวนมาก เพราะการยึดในระบบพวกพ้อง รวมถึงงบประมาณการดำเนินโครงการที่ค่อนข้างสูง ทำให้คุ้มค่ากับการเสี่ยงที่จะทำผิด ขณะที่คนในสังคมไม่กล้าที่จะออกมาพูดหรือเปิดโปง ดังนั้น ส่วนตัวจึงอยากเสนอให้องค์กรตรวจสอบอย่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบและดำเนินการเหมือนกับ ป.ป.ช. หากพบว่ามีการทุจริตเกี่ยวกับการเงิน การคลัง และการงบประมาณ เพราะถือเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ 

ด้าน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า ในบ่วงปี 2546 มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างหนักหนา จนเกิดวลี "ใครโกงขอให้มีอันเป็นไป" และนำไปสู่การปฏิวัติปี 2549 จากนั้นก็เกิดโครงการรับจำนำข้าวที่มีการทุจริตกันอย่างมาก จนทาง สตง. ได้มีหนังสือแจ้งเตือนถึง 4 ฉบับ และ ป.ป.ช. ต้องเข้าไปตรวจสอบ สุดท้ายก็เกิดการยึดอำนาจในปี 2557 ซึ่งในยุครัฐบาล คสช. มีการตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. มีผลงานสามารถระงับโครงการได้มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท รวมถึงมีการใช้อำนาจ ม.44 พักราชการผู้ที่ส่อว่าเกี่ยวกับการทุจริต จึงขอยืนยันว่า การแก้ไขปัญหาทุจริตจะต้องเกิดขึ้นในชาตินี้อย่างแน่นอน แต่ต้องใช้เวลา


"ศรีสุวรรณ"เชื่อรธน.ใหม่แก้คอร์รัปชั่นได้มากขึ้น

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวในการเสวนา "แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ชาตินี้หรือชาติหน้า" ว่า การรัฐประหารมักอ้างว่ามาแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น เหมือนอย่างสมัยของ คสช. ที่อ้างมาเข้ามาจัดระเบียบสังคม แต่ที่สุดแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามโฆษณาชวนเชื่อ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคลแวดวง คสช. ดังนั้น ประชาชนจะสามารถเชื่อเรื่องแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นได้อย่างไร 

ซึ่งในรัฐธรรมนูญที่เพิ่งนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปนั้น อาจช่วยแก้ไขปัญหาได้ เพราะได้ให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะมีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากพอสมควร โดยเฉพาะให้สิทธิประชาชนฟ้องร้องรัฐได้หากพบว่ามีการทุจริต แต่สิ่งที่เป็นห่วง คือ โครงสร้างองค์กรตรวจสอบ โดยเฉพาะการได้มาของคณะกรรมการจะต้องไม่ใช่คนใกล้ชิดของนักการเมือง รวมถึงเสนอให้มีมาตรการคุ้มครองประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบการทุจริต 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook