สเเกน “อุโมงค์ออกซิเจน” ของธัมมชโย

สเเกน “อุโมงค์ออกซิเจน” ของธัมมชโย

สเเกน “อุโมงค์ออกซิเจน” ของธัมมชโย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อุปกรณ์ทางการเเพทย์ที่มีลักษณะคล้ายแคปซูลขนาดใหญ่ ซึ่งพบในห้องรักษาอาการอาพาธของพระธัมมชโย ที่พบในวัดพระธรรมกาย เป็นเครื่องที่ใช้รักษาโรคได้สารพัดโรค

สปริงนิวส์ได้ตรวจสอบว่า เครื่องที่มีลักษณะคล้ายแคปซูลขนาดใหญ่ ที่พบในห้องรักษาอาการอาพาธของพระธัมมชโย อ้างอิงข้อมูล จากเว็บไซต์ศูนย์ไฮเปอร์แบริค โรงพยาบาลยันฮี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง พบว่าเครื่องดังกล่าว มีชื่อว่า เครื่องไฮเปอร์แบริคแชมเบอร์ หรือ “อุโมงค์ออกซิเจน” ราคาประมาณ 5 ล้านบาท ที่มีวิธีการรักษาที่เรียกว่า เอชบีโอ (HBO) หรือ การรักษาด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100%

วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยเข้าไปในเครื่อง ที่เป็น “อุโมงค์ออกซิเจน” เพื่อให้ผู้ป้วยหายใจรับออกซิเจนบริสุทธิ์ในปริมาณที่สูงกว่าปกติหลายเท่า ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ถอดเครื่องประดับ สวมหมวกออกซิเจน แพทย์จะให้นั่งหรือนอนในอุโมงค์ครั้งละ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วเปิดออกซิเจนเข้าไปในหมวกที่สวมอยู่และปรับความดันอากาศภายในอุโมงค์ เพื่อเพิ่มความกดบรรยากาศใหัสูงตามลักษณะอาการของผู้ป่วย ทำให้ขณะรักษาจะมีอาการหูอื้อเล็กน้อยตอนปรับความดันขึ้นลง

การรักษาด้วยเครื่องนี้เป็นที่นิยมของนักอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ นักกายภาพบำบัด เพราะถ้าแผลมีการหดรั้งทำให้มีผลต่อการเคลื่อนไหวของคนไข้ ดังนั้นเครื่องนี้จะช่วยสร้างเส้นเลือดฝอยเพิ่มขึ้นในบริเวณที่ขาดเส้นเลือด หรือ จุดที่เนื้อเยื่อที่บาดเจ็บจากการฉายแสงรังสี กระดูกติดเชื้อ และแผลเรื้อรัง เช่น แผลเบาหวาน ทำให้การสมานของแผลเร็ว

นอกจากนั้นยังช่วยให้สมองทำงานดีขึ้น กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เพิ่มสเต็มเซลล์ในร่างกาย สร้างเส้นเลือดขึ้นใหม่ทดแทนในส่วนที่ขาดเลือดหรือบริเวณที่เป็นแผล และยังช่วยสร้างคอลลาเจนและเส้นเลือดใหม่

กลุ่มโรคที่นิยมใช้เครื่องนี้รักษา อาทิ เด็กออทิสติก/สมาธิสั้น ปวดศีรษะไมเกรน โรคหูดับ แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน แผลผ่าตัดทั่วไป ลดบวมแผลผ่าตัดศัลยกรรมความงาม อัมพฤกษ์/อัมพาต ปวดบวม ฟกช้ำ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์นี้ ราคา 900 บาท ต่อคน ต่อ1ครั้ง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง / 1,500 บาท ต่อครั้ง ต่อ 2 ชั่วโมง และเป็นคอร์ส 10 ครั้ง 7,500 บาท ต่อ 1 ชั่วโมง

ขณะที่เฟซบุ๊กของ “วิรังรอง ทัพพะรังสี” โพสต์ระบุว่า มี hyperbaric chamber ด้วย ขนาดโรงพยาบาลหลายแห่งยังไม่มีใช้เลยค่ะ เป็นออกซิเจนแรงดันสูง ออกซิเจนในกระแสเลือดจะเข้มข้นกว่าแบบสูดดมธรรมดา ต้องมีหมอ-พยาบาล โดยเฉพาะ และมีบริษัทเดียวที่ขายในไทย ที่เห็นในรูปเป็นแบบ monoplace เข้าไปได้คนเดียว ใช้รักษาแผลเรื้อรังที่เท้า และช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง ดูอ่อนกว่าวัย โรงพยาบาลความงามบางแห่งจึงนำมาใช้เพื่อชะลอความแก่ ราคาอย่างต่ำๆ ก็สิบห้าล้านขึ้นไป ถ้าเปิดคอมพิวเตอร์ดูการ run เครื่อง ก็พอจะบอกได้ว่าใช้งานครั้งหลังสุดเมื่อไร คงใช้ส่วนตัวเพื่อรักษาแผลที่เท้า ไม่ได้ใช้ร่วมกับคนไข้คนอื่น

ห้องที่อยู่ในภาพนี้น่าจะเป็นห้องที่ธัมมชโยใช้จริง เพราะ hyperbaric chamber หนักเป็นตัน เคลื่อนย้ายลำบาก ห้องที่ไว้ hyperbaric chamber นี้ไม่น่าจะใช้เป็นห้องนอน แค่มาครั้งคราวตอนเข้า chamber เพราะคงไม่มีใครเอา hyperbaric chamber มาวางในห้องนอนแน่ แสดงว่าห้องนี้แค่รักษาเฉยๆ ธัมมชโยต้องนอนที่อื่น ดีเอสไอจึงต้องค้นหาต่อไป

ส่วนห้องปลอดเชื้อที่องอาจเคยพาไปดู ดูจากผนังห้องและหน้าต่างอาจจะไม่ใช่ห้องนี้….แล้วก็เอาเครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไปวางไว้ทำไมในห้องนั้น….ยังไม่ตายซักหน่อย

ฝากข้อความให้ดีเอสไอยึดเครื่องนี้ไปตรวจการขออนุญาตนำเข้า เพราะเป็นคลินิก ไม่ใช่ รพ. นำเข้ามาได้อย่างไร ใครเป็นคนขออนุญาตนำเข้า แล้วเอามาไว้ที่วัดได้อย่างไร ถ้าพอเครื่องนี้ถูกยึด คราวนี้บางคนที่หน้าเต่งตึงใส จะเหี่ยวแน่ๆ

จึงขอฝากข้อความด่วนถึงดีเอสไอว่า เมื่อตรวจพบเครื่อง hyperbaric chamber ควรยึดทันที ถ้าขนออกมาตรวจสอบไม่ได้ก็ต้องมีการปิดห้องมีคนเฝ้าไว้ ห้ามคนเข้า-ออก ห้ามใช้เครื่องอีก เครื่องนี้ธัมมชโยน่าจะใช้เป็นประจำ ทำให้เปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นไปได้ว่าธัมมชโยยังอยู่ภายในวัดธรรมกายมีสูงขึ้น…

เครื่องนี้อันตรายตอนเข้าและตอนออก เพราะมันออกไม่ได้ทันที ต้องใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาทีถึงออกมาได้ ถ้าเกิดหัวใจวายตายในนั้นเลย ตอนเข้าก็เหมือนขึ้นเครื่องบิน หูอื้อ ต้องมีเจ้าหน้าที่คุมเครื่องตลอด ตามไปถามเจ้าหน้าที่ หมอ พยาบาลที่ทำให้ น่าจะได้เรื่องแน่นอนค่ะ

Chamber ถ้าเข้าแล้วต้องเข้าตลอด ถ้าเว้นไปขาจะดำเพิ่ม ไม่เจอตัวธัมมชโยก็น่าจะตาม Chamber ไปแหละ…เจอตัวแน่ค่ะ

ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลยันฮี ,เฟซบุ๊ก “วิรังรอง ทัพพะรังสี”

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ สเเกน “อุโมงค์ออกซิเจน” ของธัมมชโย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook