พท.นัดถกปรองดอง 8 มี.ค. ขอฟังคิดต่างไม่ชัดยิ่งลักษณ์ร่วม

พท.นัดถกปรองดอง 8 มี.ค. ขอฟังคิดต่างไม่ชัดยิ่งลักษณ์ร่วม

พท.นัดถกปรองดอง 8 มี.ค. ขอฟังคิดต่างไม่ชัดยิ่งลักษณ์ร่วม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พรรคเพื่อไทย นัดถกปรองดอง 8 มีนาคม ขอรัฐบาลจริงใจ ฟังคิดเห็นต่าง ไม่ชัด 'ยิ่งลักษณ์' ร่วมรอดูเหมาะสม พร้อมแสดงจุดยืน 6 ข้อ รับตอบคำถาม 10 ข้อ ป.ย.ป. ยาก เพราะไม่เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี

นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า เบื้องต้นพรรคเพื่อไทย เห็นพ้องที่จะเข้าร่วมหารือแนวทางสร้างความสามัคคีปรองดองกับคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในคณะกรรมการ ป.ย.ป. วันพุธที่ 8 มีนาคมนี้ โดยมีตัวแทนจากทีมคณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารพรรค รวมถึงคณะทำงานที่ติดตามการสร้างความสามัคคีปรองดองและหาทางออกของประเทศ ไม่เกิน 10 คน นำโดย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรค นายปลอดประสพ สุรัสวดี รักษาการรองหัวหน้าพรรค นายภูมิธรรม เวชชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรค ส่วนรายละเอียดข้อเสนอแนะ คณะกรรมการบริหาร จะหารือเพิ่มเติมก่อนสรุปอีกครั้ง ทั้งนี้ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เบื้องต้น พรรคเพื่อไทย อยากให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการสร้างความปรองดอง และเร่งสร้างบรรยากาศของการยอมรับความเห็นต่าง รวมถึงบรรยากาศความร่วมมือในการหาทางออกอย่างสันติวิธี ไม่ใช่เพียงเปิดเวที ในขณะที่สังคมยังมีความขัดแย้ง และมีการใช้วาทกรรมอยู่

สำหรับการให้ความเห็นครั้งนี้ จะมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมด้วยหรือไม่นั้น ต้องหารือเรื่องความเหมาะสมกันอีกครั้ง

ด้าน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยได้รับ 10 คำถามจากคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง แต่หลายคำถามเป็นเรื่องการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งทางพรรคเพื่อไทย ก็ตอบได้ยาก เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ขณะที่คำถามเรื่องการสร้างความปรองดองก็มีเพียงแค่ 3 คำถาม

เท่านั้น นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยจะไปแสดงจุดยืนของพรรคถึงหลักการปรองดอง 6 ข้อ ประกอบด้วย ความเป็นกลาง ความเป็นอิสระของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ การค้นหาความจริงและเยียวยาผู้เสียหาย และผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ตั้งข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการเจรจา เพราะหากมีเงื่อนไขตั้งแต่แรก เช่น การห้ามคุยเรื่องอดีต หรือเรื่องนิรโทษกรรม ก็จะไม่ใช่หลักการสร้างความปรองดอง 

ขณะเดียวกัน ต้องไม่สร้างปัญหาความขัดแย้งใหม่ และผลสรุปการสร้างความสามัคคีปรองดอง ควรเป็นความตกลงเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่าย ไม่ใช่การออกคำสั่งหรือการตรากฎหมายข้อบังคับ


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook