ประสิทธิ์ชัยตั้งข้อสังเกตุ 4 ข้อเวทีพลังงานใต้
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/438/2190714/772922-01.jpgประสิทธิ์ชัยตั้งข้อสังเกตุ 4 ข้อเวทีพลังงานใต้

    ประสิทธิ์ชัยตั้งข้อสังเกตุ 4 ข้อเวทีพลังงานใต้

    2017-03-27T20:24:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    'ประสิทธิ์ชัย'โพสต์เฟชบุ๊ค ตั้งข้อสังเกตุ 4 ประการหลัง คสช.จัดเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความมั่นคงด้านพลังงาน

    วันนี้ (27 มี.ค.)หลังจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) จัดเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้  จัด 3 เวทีพร้อมกัน สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลานายประสิทธิ์ชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน โพสต์เฟชบุ๊คส่วนตัว  มีใจความว่า คิดว่าสิ่งที่ คสช.ทำถูกคือ ตั้งโจทย์ว่าจะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างไร สิ่งที่ผิดพลาดคือ ออกแบบกระบวนการคิดง่ายเกินไปจนกลายเป็นความมักง่าย เรื่องที่ซับซ้อนและยากนั้น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพจึงจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

    โดยความผิดพลาดของกระบวนการคือ1.เอาคู่ขัดแย้งมาพูดให้ข้อมูลกับผู้รับฟัง พูดด้านเดียว และวิธีพูดนั้นเลือกมุมที่จะพูดเพื่อให้เกิดความชอบธรรม 2 เรื่องอย่างเป็นลำดับ คือ กระทรวงพลังงานเลือกมุมพูดเพื่อแสดงให้เห็นว่า ยังไงก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้า และ โยนลูกให้ กฟผ.พูดต่อว่า ทางเลือกไหนควรจะเป็นทางเลือกที่ดี ปรากฎว่าทุกทางเลือกมีปัญหาหมด ยกเว้นถ่านหิน ที่แม้จะมีปัญหาแต่มีทางแก้ได้ ฉะนั้นในการให้ข้อมูลจึงมุ่งเป้าไปที่การแสดงข้อมูลเพื่อให้มีความชอบธรรมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2. สำหรับผู้มารับฟัง ส่วนใหญ่เป็นนักปกครอง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สำหรับกระบี่มีประชาชนอยู่ 300 กว่าคน ปัญหาคือ คนจำนวนนี้มาจากไหน ใครเป็นคนนำมา ยังเป็นปริศนา แทนที่จะกระจายให้คนรับฟังมีความหลากหลาย 3.ตอนบ่ายคนหายไปกว่าครึ่ง สังเกตดูทั้ง3 จุดมีสภาพเหมือนกัน คนหายไปในช่วงบ่ายนั้นมีนัยยะอะไร 4.ในการแสดงความเห็นช่วงบ่ายนั้น ใช้เวลาคนละ 10 นาที ไม่สามารถแสดงหลักฐานข้อมูลอันใดได้  และคนที่พูดได้คือบล๊อคชื่อกันไว้แล้ว โดยนัยยะแห่งการแบ่งคือ คนค้านและหนุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งที่โจทย์คือการแสวงหาทางออกในหลายทาง ฉะนั้นการนำเสนอทางออกด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างเป็นระบบจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

    ทั้งหมดนี้ ไม่สามารถนำไปสู่โจทย์ได้ว่าจะทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานอย่างไร ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดในงานนี้คือ ขบวนการถ่านหิน