CAT จัดงาน CAT NIGHT PARTY and APG CELEBRATION จับมือกลุ่มผู้ร่วมลงทุน ฉลองเปิดใช้งานเคเบิลใต้น้ำ

CAT จัดงาน CAT NIGHT PARTY and APG CELEBRATION จับมือกลุ่มผู้ร่วมลงทุน ฉลองเปิดใช้งานเคเบิลใต้น้ำ

CAT จัดงาน CAT NIGHT PARTY and APG CELEBRATION จับมือกลุ่มผู้ร่วมลงทุน ฉลองเปิดใช้งานเคเบิลใต้น้ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ยกทัพผู้บริหารกลุ่มภาคีสมาชิกผู้ร่วมลงทุนจัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำ APG หรือ Asia Pacific Gateway ร่วมฉลองเปิดใช้งานเคเบิลใต้น้ำระบบใหม่ APG โดยมีกลุ่มผู้ร่วมลงทุน ประกอบด้วย CAT, China Mobile, China Telecom, China Unicom, Chunghwa Telecom, Edge, KT Corporation, LG U plus, NTT Com, StarHub, Global Transit, Viettel และ VNPT ด้วยระบบการจัดสร้างตามมาตรฐานระดับสูง พร้อมแบนด์วิดท์รองรับคอนเทนต์ระดับโลก ตอบสนองการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูลในภูมิภาคเอเชียอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกร่วมงานฉลองอย่างคับคั่ง

     พันเอก ผศ.ดร.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ผลักดันนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างชัดเจน ขณะที่ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ อันจะทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของไทยไปสู่ระดับภูมิภาค

     ปัจจุบันปริมาณ Internet Bandwidth ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศของผู้ใช้บริการ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยแบนด์วิดท์สำหรับการสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ตใน ปี 2560 จะอยู่ที่ประมาณ 4 เทราบิตต่อวินาที และจะเพิ่มอีกกว่าเท่าตัว หรือ ดับเบิลแบนด์วิดท์ในปีหน้า ปัจจัยหลักๆ มาจากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น ของทั้งภาคประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจซึ่งมีการพัฒนาด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี ในยุคของ Disruptive Technology รวมไปถึงการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ พม่า ลาว กัมพูชา ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และอยู่ในช่วงของการช่วงชิงตลาดทำให้มีความต้องการใช้งาน Internet Bandwidth เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายของ CAT เราเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพระบบสื่อสัญญาณที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพสูงด้วยระบบเคเบิลใต้น้ำซึ่งจะเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค สำหรับการใช้งานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยวันนี้เราได้มาร่วมฉลองและสร้างพลังในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของภูมิภาคเอเชียร่วมกับภาคีสมาชิกผู้จัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำ APG รองรับการให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการจัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำ AAG (Asia-America-Gateway) ซึ่งเป็นการให้บริการเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชียและเชื่อมต่อไปยังทวีปอเมริกา และนั่นแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียอย่างไม่หยุดยั้ง”

     ระบบเคเบิลใต้น้ำ APG (Asia Pacific Gateway) มีความยาวประมาณ 10,900 กิโลเมตร เชื่อมต่อตรงจากไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกง โดยใช้เทคโนโลยีขยายแบนด์วิดท์ด้วยความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากกว่า 54 เทราบิตต่อวินาที (Tbps) นับเป็นความจุแบนด์วิดท์สูงสุดกว่าทุกระบบที่ใช้งานอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้ระบบ APG จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่หนาแน่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อยอดจากระบบ AAG ที่ CAT ได้จัดสร้างก่อนหน้านี้ โดยภายในปีนี้บริการ CAT Internet Gateway จะเริ่มเปิดให้บริการวงจรเชื่อมโยงความเร็วสูงขนาด 100 Gbps. ต่อพอร์ต เชื่อมต่อโดยตรงกับผู้ให้บริการ Content รายใหญ่ในต่างประเทศ ผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศหลากหลายระบบที่ CAT ได้ร่วมลงทุน ได้แก่ APG, AAG และ SEA-ME-WE 4 (Southeast Asia-Middle East- Western Europe 4 ) ซึ่งจะเพิ่มเสถียรภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดียิ่งขึ้น การให้บริการดังกล่าวจะทำให้ CAT Internet Gateway เป็นผู้ให้บริการรายแรกของไทยที่มีการเชื่อมโยงแบบ Nx100 Gbps. ผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศภายในปีนี้

     นอกจากการเปิดใช้เคเบิลใต้น้ำ APG แล้ว CAT มีนโยบายที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านดิจิทัลในภูมิภาค โดยริเริ่มโครงการ Digital Innovation Park พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการ อาทิ Cloud IoT และ Security ให้ตอบโจทย์เฉพาะและรองรับ New S-Cuve ที่กำลังเกิดขึ้นในภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งการเงินการธนาคาร การผลิต งานบริการ ฯลฯ และยังเน้นย้ำในด้านความร่วมมือกับผู้ประกอบการกลุ่ม content / application ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโมเมนตัมธุรกิจและต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่ พร้อมส่งเสริมตลาดกลุ่มธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในภูมิภาคอาเซียน

 

 

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook