นักวิชาการชี้ระดับน้ำกักเก็บทั่วประเทศดีกว่าปี59

นักวิชาการชี้ระดับน้ำกักเก็บทั่วประเทศดีกว่าปี59

นักวิชาการชี้ระดับน้ำกักเก็บทั่วประเทศดีกว่าปี59
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการ ชี้ ระดับน้ำกักเก็บทั่วประเทศดีกว่าปี 59 แต่ยอดเพาะปลูกทะลุแผน วอนงดทำนาปรัง เสี่ยงประสบภัยแล้ง

ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ - กรมชลประทาน เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ปัจจุบันระดับในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้อยู่ในเกณฑ์ดีกว่าปี 2559 ทำให้สามารถจัดสรรให้ทุกภาคส่วนในการใช้อุปโภค บริโภค และ รักษาระแบบนิเวศน์ ได้อย่างเพียงพอ 
ไปจนถึงเดือนสิงหาคม ปี2560 ยกเว้นภาคการเกษตรบางแห่ง เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ทั้งหมด เพราะพบว่ามีการทำนาปรังไปแล้ว 7.64 ล้านไร่ มากกว่าแผนที่วางไว้ 3.64 ล้านไร่
(แผนที่วางไว้ 4 ล้านไร่) โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวอายุตั้งแต่ 11 -18 สัปดาห์แล้ว จะไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ 
รวม 2.23 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอายุ 1 – 10 สัปดาห์ เป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังรวม 1.50 ล้านไร่ 
เบื้องต้น กรมชลประทานได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ อยากขอความร่วมจากเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีมากกว่าแผนถึง 2 เท่า อย่าทำการปลูกเพิ่ม และหากพื้นที่ใดมีการเก็บเกี่ยวแล้ว ขอให้พักนาอย่าทำการปลูกข้าวรอบ 3 พร้อมกันทั้งระบบ รวมทั้งประชาชนทั่วไปขอให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน ได้มีการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ พบว่าไม่มีพื้นที่เสี่ยงที่คาดว่าจะขาดน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่มีพื้นที่เสี่ยงที่คาดว่าจะขาดน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งสิ้น 34 จังหวัด 105 อำเภอ เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกส่วนใหญ่อาจมีบางพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งบ้าง แต่สถานการณ์จะรุนแรงน้อยกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูแล้งนี้อ่างเก็บน้ำยังมีน้ำไหลลงอ่างฯอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ว่า 1 พ.ค. 60 จะมีปริมาณน้ำคงเหลือใช้การได้ประมาณ 4,463 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าที่วางแผนไว้เดิมประมาณ 700 ล้าน ลบ.ม. 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook