ชาวสงขลาสืบสานทำข้าวหลามชักพรุดหนึ่งเดียวในไทย

ชาวสงขลาสืบสานทำข้าวหลามชักพรุดหนึ่งเดียวในไทย

ชาวสงขลาสืบสานทำข้าวหลามชักพรุดหนึ่งเดียวในไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวสงขลา สืบสานและอนุรักษ์การทำข้าวหลามชักพรุด เอกลักษณ์เฉพาะถิ่นหนึ่งเดียวในประเทศไทย

ชาวบ้านในพื้นที่บ้านควนเสม็ด หมู่1 ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา ร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์การทำข้าวหลามชักพรุด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ของชาวควนเสม็ดเท่านั้นและมีหนึ่งในเดียวในประเทศไทย มีวิธีการทำที่แตกต่างจากข้าวเหนียวหลามทั่วไป และมีให้กินเพียงปีละ 1 ครั้ง เฉพาะในงานบุญประเพณีสวดบ้านของชาวควนเสม็ด ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษยาวนาน 5 รุ่นกว่า 200 ปีนับตั้งแต่เริ่มตั้งหมู่บ้าน ซึ่งทุกบ้านจะต้องทำข้าวหลามชักพรุดนอกเหนือจากอาหารคาวหวานอื่น สำหรับวัตถุดิบในทำข้าวหลามชักพรุด ประกอบด้วย กระบอกไม้ไผ่  ใบยี่เล็ดซึ่งเป็นสูตรเด็ดในการทำข้าวหลามชักพรุดเป็นพืชเฉพาะถิ่นคล้ายต้นข่าแต่ใบจะใหญ่และยาวกว่า  ข้าวเหนียวดิบแช่น้ำ และน้ำกะทิ 

ส่วนการทำเริ่มจากเตรียมกระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำใบยี่เล็ดผ่าครึ่งมาม้วนกับไม้ไผ่ แล้วยัดใส่เข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ให้ก้านของใบยี่เล็ดโผล่ออกมาด้านนอก ใส่ข้าวเหนียวและน้ำกะทิลงไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อนๆ ในกองถ่านราวครึ่งชั่วโมงก็จะได้ข้าวหลามชักพรุดร้อนๆน่าทานมาก ทีเด็ดก็คือ ไม่ต้องผ่ากระบอกไม้ไผ่แค่ดึงก้านใบยี่เล็ดออกมาข้าวเหนียวก็จะหลุดออกมาจากกระบอกไม้ไผ่อย่างง่ายดาย ซึ่งแตกต่างจากข้าวหลามทั่วๆ ไปที่จะต้องผ่าหรือทุกระบอกไม้ไผ่ก่อนถึงจะกิน ซึ่งคำว่าชักพรุดเป็นภาษาใต้หมายถึงชักแล้วหลุดออกมาทันที จึงเป็นที่มาของชื่อข้าวหลามชักพรุด 

ด้านนายอนันต์ มหาพรหม อายุ 52 ปี หนึ่งในชาวบ้านบ้านควนเสม็ดบอกว่า การทำข้าวหลามชักพรุดจะมีขึ้นเพียงปีละ 1 ครั้งในช่วงปลายเดือนเมษายน ซึ่งจะมีการจัดประเพณีทำบุญสวดบ้าน เพื่อสร้างความสิริมงคลให้กับชาวควนเสม็ดและปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไปจากหมู่บ้าน


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook