ไลฟ์สดปลิดชีพ “ความคิด”ที่ต้องรู้ทัน ป้องกันการสูญเสีย

ไลฟ์สดปลิดชีพ “ความคิด”ที่ต้องรู้ทัน ป้องกันการสูญเสีย

ไลฟ์สดปลิดชีพ “ความคิด”ที่ต้องรู้ทัน ป้องกันการสูญเสีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคปัจจุบันเรามีแอฟฯไลฟ์สดเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวอัพเดทชีวิตประจำของเราและใช้ติดต่อสื่อสารแบบได้เห็นหน้า ทำให้รู้สึกว่าเราไม่โดดเดี่ยวเดียวดายบนโลกใบนี้ แต่เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์กลับไม่ทำให้สถิติการฆ่าตัวตายในประเทศไทยลดน้อยถอยลงเลย

ซึ่งจากฐานข้อมูลการฆ่าตัวตายโดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ราชนครินทร์ พบว่า คนไทยมีแนวโน้มการฆ่าตัวตายค่อยๆสูงขึ้น โดยปีล่าสุด 2558 คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยเดือนละ 350 คนหรือ ทุกๆ 2 ชั่วโมง และผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า

ทั้งนี้ปัจจัยและสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย พบว่า เกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ โดยเฉพาะปัญหาความรักความหึงหวง ที่ทำให้เกิดการทำร้ายตนเองมากที่สุด ถึง 20% รองลงมา คือ โรคซึมเศร้า และ น้อยใจคนใกล้ชิดดุด่า นอกจากสถิติการฆ่าตัวตายที่เพิ่มมากขึ้นแล้วยังพบว่าการฆ่าตัวตายผ่านแอพฯไลฟ์สดก็เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

ซึ่งทาง Sanook News! ได้ติดต่อขอสัมภาษณ์ คุณหมอเอิ้นพิยะดา  จิตแพทย์นักแต่งเพลง  และ วิทยาการการใช้ความรักบันดาลความสุข ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีการฆ่าตัวตายผ่านแอฟฯไลฟ์สด และการฆ่าตัวตายแบบไม่จำเป็นต้องป่วยโรคซึมเศร้าว่า

การที่คนมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีย่อมนำไปสู่ความคิดฆ่าตัวตาย วางแผนและสุดท้ายคือการลงมือกระทำ  แต่ไม่ได้หมายความว่าสุขภาพจิตที่ไม่ดีนั้นคือโรคทางจิตเวชทั้งหมด เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องมีช่วงเวลาของชีวิตที่สุขภาพจิตไม่ดีเหมือนกันทุกคน 

ซึ่งวิธีการสังเกตแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก กรณีของคนปกติแต่มีความเครียดรุนแรง และ คนเป็นโรคซึมเศร้า

กลุ่มนี้อาการก็จะออกมาเป็นลักษณะเก็บตัว  พูดน้อย  สีหน้าท่าทางเศร้าหมองตลอดเวลา เป็นยาวนานพอสมควร

กลุ่มที่ 2 คนที่เกิดจากการเป็นโรคจิตประสาทหลอน

กลุ่มนี้มักจะท่าทีระแวงว่าจะมีคนมาฆ่าหรือทำร้ายตัวเองหรือพูดว่าได้ยินเสียงสั่งให้ทำร้ายตัวเอง

กลุ่มที่ 3  คนที่เกิดอาการมึนเมา  หรือประสาทหลอนจากการใช้สารเสพติด 

กลุ่มนี้จะคาดเดายาก

ส่วนกลุ่มบุคคลที่ไม่มีวี่แววการฆ่าตัวตายหรืออาการป่วยมาก่อนเลย คุณหมอได้ยกบทความของ  ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล  อธิบายเหตุผลที่น่าสนใจดังนี้

•      จุดมุ่งหมายของเขา คือเพื่อหาทางออกต่อปัญหา

•      เป้าหมาย คือ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับรู้อะไรอีกต่อไป

•      ปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจที่ยากจะทนได้

•      ปัจจัยบีบคั้น (stressor) ได้แก่ ความผิดหวัง ไม่สมหวัง

•      ภาวะอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหนทาง

•      ความรู้สึกภายใน ได้แก่ ความรู้สึกสองจิตสองใจ

•      สภาวะความคิดอ่าน(cognitive state) ได้แก่ คือความคิดหรือการมองสิ่งต่างๆ คับแคบลง

•      พฤติกรรม ได้แก่ การพยายามหนีไป ณ ขณะนั้น

•      พฤติกรรมที่มีกับผู้อื่น คือ การบ่งบอกถึงเจตนาสิ้นสุดชีวิต

•      สิ่งที่พบบ่อย ได้แก่ รูปแบบการปรับตัวต่อปัญหาที่เป็นเช่นนี้มาตลอด

ee2

ส่วนข้อปฏิบัติและวิธีเบื้องต้น สำหรับครอบครัวหรือบุคคลทั่วไปที่กำลังมีญาติตกอยู่ในภาวะอยากฆ่าตัวตาย ต้องใช้วิธี รับรู้” “รับฟัง” “เข้าใจ” 

“รับรู้” รู้ว่าเค้ากำลังทุกข์ที่สุดในชีวิต รู้ว่าเค้ามีความคิด รู้ว่าอย่ากลัวกับการถามอย่างตรงไปตรงมาว่า “มีความคิดทำร้ายตัวเองใช่มั้ย?” “ทำอย่างไร?” แค่รู้ว่ามีคนรับรู้ความทุกข์ ใจก็เบาไปกว่าครึ่ง

“รับฟัง” เปิดโอกาสให้เค้าระบายความอัดอั้นตันใจอย่างเต็มที่ พูดให้น้อยตั้งใจฟังให้มาก

“เข้าใจ” เข้าใจสาเหตุของความทุกข์จนเป็นที่มาของความคิดฆ่าตัวตาย และแสดงความเข้าใจนั้นออกมาให้เค้ารับรู้ เช่น โอบกอด ท่าทีห่วงใย น้ำเสียงนุ่มนวล

ทางด้านการฆ่าตัวตายแบบไม่มีภาวะโรคซึมเศร้าไม่ใช่รูปแบบที่เป็นปกติของการฆ่าตัวตาย เพราะการฆ่าตัวตายเองความหมายคือการพาตัวเองออกไปจากความทุกข์นั้นโดยลึกๆในใจของผู้กระทำเองจะคิดว่า (ไม่อยากให้ใครเดือดร้อน) สังเกตว่าเค้าจะกระทำในที่ลับตา  เวลาเงียบ  อยู่คนเดียว  ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้ช่วยเหลือ

5tt

แต่ในกรณีของการฆ่าตัวตายโดยหึงหวงและถ่ายทอดดังเช่นข่าวสะเทือนใจในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา เราในฐานนะของผู้มีชิวิตอยู่และเป็นเพียงผู้เสพข่าวเราควรรับรู้เพียงว่านี่คือการฆ่าตัวตายที่ไม่ปกติ ผู้กระทำต้องการให้คนอื่นรับรู้ ผู้กระทำทำในสิ่งที่ไม่ได้อยากกระทำ(ความหมายของการประชด)   เราไม่ควรคาดเดาหาเหตุผลหรือตัดสินอะไรในกรณีนี้เพราะไม่มีประโยชน์และจะส่งผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องที่ยังมีชีวิตอยู่

สุดท้ายนี้คุณหมอเอิ้นยังได้ฝากข้อคิดไว้ด้วยว่า ความจริงคนเรามีโอกาสที่จะเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ทุกคน  ประชดบ้าง  อารมณ์ชั่ววูบบ้าง  คิดจริงจังบ้าง ต่างกันตรงที่เราเป็นไปตามความคิดนั้นแค่ไหน

ดังนั้นคงไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการมีสติรู้เท่าทันความคิดของเราเองแล้วกลับมีความสุขกับปัจจุบัน  เพราะนั่นหมายความว่าเราจะมีโอกาสเข้าใกล้คำว่าสมดุลชีวิตได้ง่าย  ถึงเครียดก็จะเครียดไม่นาน ถึงเจอปัญหาก็กลายเป็นการเรียนรู้ คุณหมอเอิ้น กล่าวทิ้งท้าย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook