โฆษกศาลยธ.ชี้แก้ไขป.วิดักฟังโทรศัพท์ยังอยู่ในชั้นครม.

โฆษกศาลยธ.ชี้แก้ไขป.วิดักฟังโทรศัพท์ยังอยู่ในชั้นครม.

โฆษกศาลยธ.ชี้แก้ไขป.วิดักฟังโทรศัพท์ยังอยู่ในชั้นครม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โฆษกศาลยุติธรรม ชี้ แก้ไข ป.วิ ดักฟัง โทรศัพท์ ให้อำนาจตำรวจดักฟัง ยังอยู่ในชั้น ครม.รับหลักการเท่านั้น

นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณี ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) ว่าปัจจุบันการดักฟังทางโทรศัพท์มีกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานอยู่คือในกรณีของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทุกช่องตาม พ.ร.บ.สอบสวนคดีพิเศษ 2557 มาตรา 25 ที่ให้อำนาจพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนเดียวจากศาลทั่วประเทศเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มา ซึ่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 ซึ่งกฎหมายการดักฟังดังกล่าวนี้กำหนดขอบเขตไว้เฉพาะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในคดีที่รับเป็นคดีพิเศษเท่านั้น

นายสืบพงษ์ กล่าวว่า อาจจะมีการแก้ไขกฎหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้อำนาจเจ้าพนักงานที่นอกเหนือจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในการดักฟังโทรศัพย์ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งการจะดักฟังโทรศัพท์ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 36 บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร ถึงกันไม่ว่าทางใด การกักการตรวจหรือการเปิดเผยข้อมูล หรือล่วงรู้ถึงข้อมูลของบุคคลที่สื่อสารถึงกัน โดยหลักการจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่ง หมายของศาล หรือเหตุตามกฎหมายบัญญัติ ก็จะต้องไปพิจารณาต่อไปว่าการอาศัยอำนาจจะต้องปรากฏเหตุตามกฎหมายด้วย “อำนาจตาม พ.ร.บ.สอบสวนคดีพิเศษเป็นอำนาจตามกฎหมายเฉพาะ แต่ขณะนี้จะเอาเรื่องของการดักฟังมาใช้ในกฎหมายทั่วไปก็คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในชั้นยกร่างอาจมองว่าศาลทั่วราชอาณาจักรสามารถพิจารณาเรื่องนี้ได้ แต่ขณะนี้ร่างกฎหมายยังเป็นเพียงชั้น ครม.รับหลักการต้องไปพิจารณาในชั้นอื่นต่อไป ส่วนที่ก่อนนี้ ตามกฎหมายคดีพิเศษที่ให้ผู้ที่อนุญาตให้ดักฟังโทรศัพท์ได้เฉพาะอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เนื่องจากศาลอาญาเป็นศาลที่มีความสำคัญ และมีผู้พิพากษาที่อาวุโสสูง รวมถึงการควบคุมจำกัดขอบวงการอนุญาตไปในแนวทางเดียวกันถึงใช้เฉพาะศาลอาญา


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook