วิษณุยังไม่มีชงม.44 ฟันขรก.ค้ากามชี้รบ.ใหม่เปลี่ยนปมเรือดำน้ำได้

วิษณุยังไม่มีชงม.44 ฟันขรก.ค้ากามชี้รบ.ใหม่เปลี่ยนปมเรือดำน้ำได้

วิษณุยังไม่มีชงม.44 ฟันขรก.ค้ากามชี้รบ.ใหม่เปลี่ยนปมเรือดำน้ำได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'รองนายกฯวิษณุ' ย้ำนายกฯ-ครม.รัฐบาลใหม่มีอำนาจเหนือคกก.ยุทธศาสตร์ชาติ เปลี่ยนบอร์ดได้ตามหลักการ ขณะปมเรือดำน้ำก็แก้ไขได้ - ยังไม่มีชง ม.44 ฟันข้าราชการ ค้ากาม พร้อม แจงพรบ.สื่อยังไม่ถึงครม.ไม่รู้ขัด รธน.หรือไม่

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฏหมาย กล่าวถึงอำนาจของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ กับอำนาจของคณะรัฐมนตรีว่า คณะรัฐมนตรีจะต้องมีอำนาจเหนือกว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เนื่องจากคณะรัฐมนตรี สามารถเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ชาติได้ตามขั้นตอน พร้อมยืนยันว่า นายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลชุดใหม่ สามารถเปลี่ยนแปลงบอร์ดคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้ โดยใช้กระบวนการเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงบอร์ดรัฐวิสาหกิจ 
นอกจากนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวถึงโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำในกรณีที่รัฐบาลชุดใหม่ไม่เห็นด้วยว่า สามารถเปลี่ยนแปลงยกเลิกได้ และหากมีการลงนามไปก่อนหน้านี้ ก็สามารถเจรจากับคู่สัญญาได้ และหากเกิดความเสียหายจากการยกเลิกสัญญาขึ้น ผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาก็จะต้องรับผิดชอบ 
นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีคดีค้ามนุษย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น มีความจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 โยกย้ายผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ว่า การจะตรวจสอบหรือโยกย้าย มี 2 แนวทาง คือ การใช้กฎหมายปกติ ซึ่งให้อำนาจอยู่แล้ว แต่อาจมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการ และความถูกต้องเป็นธรรม ที่อาจซับซ้อนและใช้เวลานาน ก็อาจจะต้องใช้มาตรา 44 ซึ่งขณะนี้ ความจำเป็นที่จะใช้มาตรา 44 ลดลงแล้ว เพราะเคยออกคำสั่งไว้แล้วว่า หากจำเป็นต้องโยกย้ายใคร และไม่สามารถใช้กระบวนการปกติได้ จึงสามารถออกคำสั่งโดยไม่ต้องอ้างถึงมาตรา 44 และขณะนี้ มีการโยกย้ายโดยไม่ใช้มาตรา 44 มาแล้วหลายราย ด้วยการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี 
ส่วนกรณีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ควรจะนำคำสั่งนี้มาใช้หรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องเริ่มจากต้นสังกัดที่ต้องรายงานความจำเป็นมาที่ส่วนกลาง หากใช้อำนาจปกติไม่ได้ ก็สามารถขอนายกรัฐมนตรีให้ออกคำสั่งได้ แต่ขอให้รายงานเหตุผลความจำเป็นด้วย แต่เบื้องต้นยังไม่มีรายงานของใช้อำนาจตาม ม.44 เข้ามา จึงยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เชื่อว่า ไม่เกิน 2 วันจะทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด
นอกจากนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวถึงรายงานร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชน ของกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท.ว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งกฎหมายดังกล่าว สปท. จะพิจารณาก่อนในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ และส่วนตัวไม่ทราบว่ากฎหมายดังกล่าวจะขัดแย้งกับ มาตรา35 ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ที่ให้สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยไม่ถูกควบคุมหรือไม่ รวมถึงปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าการตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแล้วให้อำนาจให้หรือถอดใบอนุญาตวิชีพสื่อมวลชนได้ มีความเหมาะสมหรือไม่ 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook