วัฒนาFBมองพ.ร.บ.สื่อจำกัดการรับรู้ปชช.

วัฒนาFBมองพ.ร.บ.สื่อจำกัดการรับรู้ปชช.

วัฒนาFBมองพ.ร.บ.สื่อจำกัดการรับรู้ปชช.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'วัฒนา เมืองสุข' โพสต์เฟซบุ๊ก มองพ.ร.บ.สื่อพยายามแทรกแทรง - ควบคุมการทำงานของสื่อ พร้อมจำกัดการรับรู้ของประชาชน

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว "Watana Muangsook" ว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน โดยมีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติที่มีปลัดกระทรวง 4 คน นั่งเป็นกรรมการถาวรโดยตำแหน่ง มีอำนาจขึ้นทะเบียน ออกและเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน คือความพยายามของเผด็จการที่จะเข้าไปแทรกแซงและควบคุมการทำงานของสื่อเพื่อจำกัดการรับรู้ของประชาชน ซึ่งบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำไม่ได้ ยกเว้นเป็นวิชาชีพที่ต้องการความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูง ซึ่งการประกอบวิชาชีพอาจส่งผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องจบการศึกษาตรงกับสาขาอาชีพนั้นที่จะมีสิทธิได้รับใบอนุญาต ส่วนบางอาชีพ เช่น นักบิน ผู้ขับขี่ยานพาหนะ หรือหมอนวด ไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องจบการศึกษาด้านใดแต่โดยลักษณะของงานมีผลต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน กฎหมายจึงกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาต โดยในส่วนการสื่อสารเป็นวิถีตามธรรมชาติของมนุษย์ สื่อคือช่องทางในการนำสารจากผู้ส่งถึงผู้รับ การประกอบวิชาชีพสื่อจึงไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องจบจากสาขาใด เพราะไม่ใช่วิชาชีพที่อาจส่งผลกระทบทันทีทันใดต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือและมีกฎหมายคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการทำงานของสื่อ จึงไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อจะต้องมีใบอนุญาต 

ทั้งนี้ นายวัฒนา กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่เคยมีปัญหาที่ต้องไปควบคุมการทำงานของสื่อ ดังนั้น วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการออกกฎหมายคือเผด็จการต้องการควบคุมสื่อเพื่อจำกัดการรับรู้ของประชาชน ทั้งที่หน้าที่ของรัฐคือการอำนวยความสะดวกและคุ้มครองสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่สร้างเครื่องมือปิดกั้นในฐานะผู้ออกกฎหมายที่ขาดความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจแต่จะไปออกกฎหมายกำกับจริยธรรมของผู้อื่น คำถามคือใครกันแน่ที่ควรถูกควบคุมจริยธรรม


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook