เคลียร์จบ! เปรี้ยวและแก๊ง ไม่ถูกใส่กุญแจมือ ยิ้มชิลล์ๆขณะถูกจับ

เคลียร์จบ! เปรี้ยวและแก๊ง ไม่ถูกใส่กุญแจมือ ยิ้มชิลล์ๆขณะถูกจับ

เคลียร์จบ! เปรี้ยวและแก๊ง ไม่ถูกใส่กุญแจมือ ยิ้มชิลล์ๆขณะถูกจับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นประเด็นดราม่าเมื่อโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพอิริยาบถสบายๆ ขณะถูกควบคุมตัวของ น.ส.เปรี้ยวพร้อมเพื่อนที่ทั้งหมดคือผู้ต้องหาฆ่าหั่นศพ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ถูกจับใส่กุญแจมือ การได้รับประทานอาหารที่ดี ได้สิทธิ์ในการสูบบุหรี่และสิทธิ์ในการแต่งหน้าอีกด้วย

นอกจากนี้ยังได้มีการถ่ายรูปกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสทั้งที่เพิ่งก่อคดีฆ่าคนตายมาหมาดๆ และภาพนี้กลายเป็นประเด็นที่สนใจของสังคมว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทำถูกต้องหรือไม่ และที่สำคัญ น.ส.เปรี้ยว ได้อภิสิทธิ์เหนือผู้ต้องหาคนอื่นหรือเปล่า..?

1edwe

ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ อย่างหนักถึงการปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ก่อนที่จะคิดไปไกลมากกว่านี้ลองไปดูความคิดเห็นของตำรวจท่านหนึ่งที่ได้แสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าวว่า

การใช้กุญแจมือหรือเครื่องพันธนาการผู้ต้องหา

ตามกฎหมาย ป.วิ อาญา ระบุไว้ว่า เจ้าหน้าที่สามารถพันธนาการคนร้ายได้ตามสมควรแก่เหตุ ไม่มาเกินไปหรือไม่น้อยเกินไป เช่น มีตำรวจ 5 นาย ผู้ต้องหา 1 คน จะใส่จะใส่กุญแจมือด้านหลังก็เพียงพอ หรือหากผู้ต้องหาเป็นผู้หญิงและมีตำรวจตั้ง 5 นาย จะไม่ใส่กุญแจมือก็ได้ การพันธนาการผู้ต้องหาจะต้องสมควรแก่เหตุ หรือหากผู้ต้องหามีจำนวนมากก็เป็นตัวแปรสำคัญที่อาจมีโอกาสเกิดภัยคุกคามได้  

“ไม่จำเป็นว่าผู้ต้องหา 1 คน จะต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุม 1 คน ไม่ได้มีกฎหมายระเบียบอะไรกำหนดไว้ แต่โดยหลักควรจะมีตำรวจจำนวนมากกว่าผู้ต้องหา เพราะว่าหากมีอะไรเกิดขึ้นจะสามารถใช้กำลังควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ถ้าตำรวจน้อยกว่าโอกาสในการเพรี่ยงพล้ำจะสูง มันเป็นหลักปฏิบัตินิยม

โดยหลักแล้วควรจะต้องมีจำนวนเจ้าหน้าที่มากกว่าผู้ต้องหา แต่ถ้าจำเป็นและมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่พอจริงๆ ก็ต้องพันธนาการให้แน่นหนา ผู้ต้องหา 10 คน ตำรวจ 5 คนจะคุมกันได้อย่างไร”

1we3

ทำไมผู้ต้องหาถึงอยู่ดี กินดี แต่งหน้าสวยได้

จริงๆตอนนั้น เป็นแค่การจับกุมได้ ยังไม่มีการสืบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาจากพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ซึ่งต้องทำในพื้นที่ คือ จ.ขอนแก่น ดังนั้น สิทธิพวกนี้ยังคงได้รับตามแก่สมควร ซึ่งใครก็มีสิทธิ์ที่จะขอได้

ทำไมร่าเริงจัง ไม่สลดกับความผิด เจ้าหน้าที่ก็หัวเราะสนุกด้วย

คือจริงๆ มองอีกด้านคือการใช้จิตวิทยากับผู้ต้องหา ให้ความสนิทด้วย มีอารมณ์ร่วมด้วย เพื่อจะได้ไม่ให้เขาเครียดเกินไปและง่ายต่อการให้ปากคำในขั้นตอนต่อไป

อีกมุม อาจจะหัวเราะเล่นกันตามประสา ซึ่งถามว่าผิดวินัยไหม ก็ไม่ผิด แต่อาจจะไม่ควรเท่าไหร่ในสายตาประชาชน อันนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนครับ

นั่นคือข้อคิดเห็นของผู้พิทักษ์สันติราษฎรที่อยากให้สังคมเห็นว่าไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์โดยไม่มีเหตุผล เพราะบางสิ่งบางอย่างอาจมีที่มาและที่ไป ไม่ควรใช้อารมณ์อย่างเดียวในการตัดสินภาพที่เจอโดยไม่รู้ความจริง

1br

ทีนี้ลองมาดูความคิดเห็นของทางฝั่งทนายกันบ้างที่ได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนี้อย่างน่าสนใจ

โดย ทนายวรวัฒน์ บุญฤทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Sanook! News ถึงประเด็นนี้ว่า การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ใส่กุญแจมือผู้ต้องหานั้นถือว่าทำได้เพราะไม่มีหลักกฎหมายอะไรมาบังคับใช้กับผู้ต้องหา เว้นแต่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือผู้ต้องหาจะหลบหนีก็สามารถที่จะใส่กุญแจหรือพันธนาการในรูปแบบใดก็ได้

แต่ถ้าวิเคราะห์จากในภาพแล้วจะเห็นว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่กันหลายคนจึงคิดว่าไม่น่าจะหลบหนีได้ และผู้ต้องหาอาจให้ความร่วมมือที่ดีทางเจ้าหน้าที่จึงได้ผ่อนคลายลงในเรื่องการควบคุมตัวก็เป็นได้

แต่ภาพที่ออกมานั้นสังคมอาจมองว่าเป็นเรื่องการเลือกปฏิบัติที่ว่าคนที่มีคดีเล็กน้อยกลับโดนใส่กุญแจมือ คนที่ฆ่าคนตายกลับไม่ใส่กุญแจมือ บางทีต้องดูที่สถานการณ์นั้นๆด้วย ซึ่งกรณีผู้ต้องหาเป็นผู้หญิงหากทำเกินกว่าเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจโดนกล่าวหาได้ว่ารังแกผู้หญิง ซึ่งจะทำให้ถูกใจทุกคนก็คงลำบากเช่นกัน

1we2

ส่วนกรณีที่ผู้ต้องหาได้รับการดูอย่างดี ได้กินขนม ได้แต่งหน้า ได้ดูดบุหรี่ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสิทธิ์ของผู้ต้องหาทุกคนที่สามารถขอได้ แต่จะได้รับตามคำขอหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจะให้ได้หรือไม่

ทั้งนี้ภาพที่ปรากฏบนโลกออนไลน์นั้นเราอาจจะยังไม่เคยเห็นกันจึงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนาๆ เพราะที่จริงแล้วการดูแลผู้ต้องหากรณีเช่นนี้ก็มีเหมือนกันเพียงแต่ไม่เป็นข่าวเท่านั้นเอง ซึ่งการดูแลผู้ต้องหาสามารถทำได้ไม่ผิดกฎระเบียบเพราะไม่มีกฎระเบียบที่ตายตัวอยู่แล้ว

ทั้งนี้การดูแลผู้ต้องหาอย่างดีดังเช่นกรณีเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีและอยากให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เป็นบรรทัดฐานในการดูแลผู้ต้องหาทุกคนไม่ว่าจะคดีเล็กหรือคดีใหญ่อยากให้ปฏิบัติกับผู้ต้องหาให้ดีที่สุดเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้ต้องหาก็มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคนอย่าเลือกปฏิบัติก็เท่านั้นเอง

1r23

และที่สำคัญภาพที่ปรากฏว่ามีการดูแลผู้ต้องหาอย่างดี ทำให้ผู้ต้องหารู้สึกผ่อนคลายยิ้มแย้มแจ่มใส หากมองในมุมของรูปคดีถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะว่า ถ้าหากผู้ต้องหาให้การปฏิเสธในชั้นศาลว่าถูกบังคับข่มขู่ให้ยอมรับสารภาพ ภาพนี้จะเป็นหลักฐานชั้นดีที่แสดงให้เห็นว่าไม่เป็นความจริงเพราะทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้สิทธิกับผู้ต้องหาอย่างเต็มที่

ไม่มีการพันธนาการใดๆ ไม่ได้กักขังและไม่ได้บังคับขู่เข็ญให้ได้มาซึ่งคำสารภาพ ซึ่งภาพนี้จะเป็นภัยต่อเค้าเองและเค้าจะกลับคำให้การไม่ได้แล้ว เนื่องจากภาพมันฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลคุณอย่างดีกลายเป็นหลักฐานสำคัญที่เป็นประโยชน์สามารถใช้ได้ในชั้นศาล

สุดท้ายนี้อยากฝากให้หน่วยงานต่างๆ ช่วยเข้าไปดูแลเหยื่อด้วยทั้งคุณแม่และคุณย่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพจิตใจและค่าสูญเสียต่างๆ ถึงแม้จะชดเชยกันไม่ได้กับการสูญเสียครั้งนี้ แต่อย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาให้ความเสียใจลดน้อยลงไปได้ไม่มากก็น้อยดีกว่าปล่อยอยู่เฉยๆไม่ได้ทำอะไรเลย  ทนายวรวัฒน์กล่าวทิ้งท้าย

หากมองในภาพที่เกิดขึ้นอาจสื่อได้หลากหลายความหมายและคงไม่สามารถตอบได้ว่าถูกหรือผิด และไม่มีใครสามารถทำทุกอย่างให้ถูกใจใครได้ทุกคน เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่ปฏิบัติเช่นนี้คงขึ้นอยู่ที่เจตนาของผู้กระทำแล้วละว่าสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ จะถูกจะผิดขึ้นอยู่ที่ใจและวิจารณญาณล้วนๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook