ทหารเปิดยุทธการกวาดล้าง โรฮิงญา-ต่างด้าว

ทหารเปิดยุทธการกวาดล้าง โรฮิงญา-ต่างด้าว

ทหารเปิดยุทธการกวาดล้าง โรฮิงญา-ต่างด้าว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทหารเปิดยุทธการกวาดล้างผู้อพยพเข้มเมืองผิดกฏหมาย โรฮิงญา-ต่างด้าว

(18ก.พ.) เวลา 04.00 น. ทหารชุด ฉก.ร.25 จากกองร้อยที่ 2521 จ.ระนอง 30 นาย นำโดย รอ.เฉลิมพล เทโหปการ ผบ.ร้อย 2521 ฉก.ร.25 นำกำลังเข้าปิดล้อมพื้นที่บริเวณ ซ.จอย 2 ม.5 ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง ซึ่งเป็นพื้ที่อยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าเป็นจำนวน เนื่องจากเป็นพื้นที่ตั้งใกล้กับโรงงานแปรรูปอุตสาหกรรมอาหารทะเลขนาดใหญ่

ร.อ.เฉลิมพล เทโหปการ ผบ.ร้อย 2521 ฉก.ร.25 กล่าวว่าเหตุที่ตนนำกำลังเข้าตรวจสอบชุมชนที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชาวพม่าในครั้งนี้เป็นไปตามโครงการจัดระเบียบชุมชนพม่า และปัญหายาเสพติด ประกอบกับช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการเปิดอนุญาตให้ต่อทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่มีแรงงานต่างด้าวทะลักเข้ามาแฝงตัวอยู่ตามชุมชนต่างๆ เพื่อสบโอกาสสวมรอยขึ้นทะเบียนแรงงาน

"ในพื้นที่ ซ.จอย 2 ที่เข้ามาตรวจสอบในวันนี้พบว่ามีชาวพม่าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุ 18-30 ปี อาศัยอยู่ประมาณ 500 คน เด็กเล็ก 20 คน โดยลักษณะการอาศัยจะอยู่รวมกันในห้องเช่าซึ่งมีราคาถูกประมาณ 1,400 บาทต่อเดือน โดยพม่ากลุ่มนี้จะใช้วิธีอยู่รวมกันห้องละ 5-10 คนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย"

ร.อ.เฉลิมพล กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบผู้กระทำผิดทั้งหมด 9 คน เนื่องจากไม่มีบัตรใดๆมาแสดง ทางชุดควบคุมจึงนำตัวส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองระนองเพื่อดำเนินคดีข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายต่อไป และตนจะใช้นโยบายดังกล่าวนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อป้องปรามทั้งกลุ่มโรฮิงญา รวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่อาจจะใช้จังหวะช่วงที่ประเทศไทยกำลังเปิดอนุญาตต่อทะเบียนแรงงานทะลักเข้ามา

ส่วนชาวพม่าอีกกว่า 400 คนที่นำบัตรมาแสดงพบว่ามี 4 ประเภท 1.บัตรอนุญาตทำงานถูกต้องสำหรับชาวพม่าที่ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวพบจำนวน 20 คน 2.บัตรแขวนคอซึ่งเป็นบัตรอนุญิชั่วคราวสำหรับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ทาง จ.ระนองออกให้ 3. บอเดอร์พาส 4.ใบแทนใบอนุญาตทำงาน ส่วนบัตรทั้งหมดจะมีการปลอมแปลงหรือไม่อย่างไรนั้น คงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องส่วนอื่นๆ ที่จะต้องเข้ามาตรวจสอบต่อไป

"สำหรับกรณีชาวโรฮิงญาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ทางชุดตนเตรียมที่จะเข้าตรวจสอบในพื้นที่เป้าหมายที่อาจจะมีกลุ่มดังกล่าวแฝงตัว หรืออาศัยอยู่ ซึ่งขณะนี้กำลังตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจน ก่อนที่จะเข้าทำการตรวจสอบ ซึ่งจ.ระนองมีอยู่หลายจุด หลายชุมชน หลายพื้นที่ที่อยู่ในข่ายน่าสงสัยว่าอาจจะมีชาวโรฮิงญาที่แอบแฝงตัวเข้ามาก่อนหน้านี้หลบซ่อน หรืออาศัยอยู่"

นายจำเนียร เลขาโชค อายุ 63 ปี ชาวบ้านชุมชน ซ.จอย 2 ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมากว่า 10 ปี กล่าวว่าในอดีตพื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนของคนอีสานที่อพยพเข้ามาหางานทำในจังหวัดระนอง แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนอีสานได้อพยพออกไป โดยมีกลุ่มแรงงานชาวพม่าเข้ามาอาศัยแทน และค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากไม่กี่คนในช่วงแรก กลายเป็นเกือบพันคนในปัจจุบัน ทั้งที่มีห้องเช่าเพียงไม่กี่ห้อง แต่อาจเป็นเพราะอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม จึงทำให้มีแรงงานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

"ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องพม่าอยู่มากหรือน้อย แต่ที่เป็นห่วงคือการที่พม่าคลอดลูกใน จ.ระนอง ซึ่งในซ.ดังกล่าวมีเด็กชาวพม่ามากกว่า 50 คน ซึ่งมองว่าเด็กพวกนี้คือปัญหาของจ.ระนอง และองประเทศไทยในอนาคต เพราะเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ 2 ใน 3 จะไม่กลับประเทศนอกจากจะหาช่องทางทำมาหากินในจ.ระนอง หรือจังหวัดอื่นๆ แล้ว ปัจจุบันชาวพม่าหลายรายมองหาช่องทางเพื่อที่จะตั้งรกรากในจ.ระนอง ซึ่งมองว่าน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะปัจจุบันระนองก็เกือบจะกลายเป็นรัฐพม่ารัฐหนึ่งอยู่แล้ว"

น.ส.ซาน อายุ 21 ปี จากจังหวัดทวาย ซึ่งได้รับบัตรสีชมพู (บัตรอนุญาตทำงานที่ถูกต้อง) กล่าวว่าตนเข้ามาทำงานที่จ.ระนองมา 4 ปีแล้ว เนื่องจากที่พม่าไม่มีงานทำ เดือดร้อนมาก โดยตนโชคดีที่สามารถขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ และสามารถอยู่ใน จ.ระนองได้ไม่ต้องหลบๆซ่อนๆ ส่วนเพื่อนชาวพม่าด้วยกันยอมรับว่าหลายคนไม่มีบัตร ซึ่งหลายครั้งต้องยอมให้ทางการจับกุม จากนั้นก็จะกลับเข้ามาอีก เนื่องจากความต้องการที่จะหางานทำ หารายได้ไปช่วยเหลือครอบครัว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook