นักดาราศาสตร์ชวนแนะดาวหาง ลู่หลิน ใกล้โลกอีกคืนพรุ่งนี้

นักดาราศาสตร์ชวนแนะดาวหาง ลู่หลิน ใกล้โลกอีกคืนพรุ่งนี้

นักดาราศาสตร์ชวนแนะดาวหาง ลู่หลิน ใกล้โลกอีกคืนพรุ่งนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักดาราศาสตร์ชวนดูปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่อเนื่องอีกคืนพรุ่งนี้ แนะชมดาวหางลู่หลิน ที่เพิ่งถูกค้นพบใหม่เมื่อสองปีก่อน พร้อมโชว์ผลงานการบันทึกภาพที่สวยงามของนักดาราศาสตร์เมืองไทยให้ชื่นชม

(23ก.พ.) เวลา 09.30 น. นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า คืนวันพรุ่งนี้ (24 ก.พ.52) จะเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอีกปรากฏการณ์หนึ่ง ที่อยากให้ผู้สนใจได้ติดตามเฝ้าสังเกตการณ์เนื่องในปีดาราศาสตร์สากลปีนี้ คือ ปรากฏการณ์ ดาวหางลู่หลินโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด ที่ระยะ 0.411 AU ( AU คือ หน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ เทียบจากระยะทางระหว่างโลก และดวงอาทิตย์) หรือ ประมาณ 61,484,778 กิโลเมตร

โดยมีความสว่างที่ 6.0 แมกนิจูด ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องขนาดสองตาขึ้นไป ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งในการสังเกตนั้นให้หันหน้าไปทางด้านทิศใต้ แล้วแหงนมองขึ้นบนท้องฟ้าที่มุมเกือบจะกึ่งกลางศีรษะ ในเวลาประมาณ 01.00 น. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในกลุ่มของดาวหญิงสาว ( Virgo ) และถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอีกปรากฏการณ์หนึ่งในปีดาราศาสตร์สากลปีนี้ ที่นักถ่ายภาพดาวหางให้ความสนใจติดตามถ่ายภาพกันอยู่ในขณะนี้

แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญที่จะทำให้การเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ และถ่ายบันทึกภาพเป็นไปด้วยความยากลำบากมากยิ่งขึ้น คือ บนท้องฟ้ามีฟ้าหลัวจากเมฆหมอกที่ลงหนาจัดในช่วงปลายเดือน ก.พ. ของทุกปี

สำหรับดาวหาง ลู่หลิน หรือ C/2007N3 ดวงนี้ ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวจีน คือ นายเย่ เฉวียน จื้อ ( QUANZHI YE ) วัย19 ปี ซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยซุนยัดเซน เมืองกวางชู เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ปี ค.ศ.2007 ที่หอดูดาวลู่หลิน เมืองหนันโทว ประเทศไต้หวัน หลังจากเคยได้ติดตามชื่นชมดาวหาง เฮลพ์ บอบฟ์ ที่โคจรผ่านเข้าใกล้โลกไปก่อนหน้านี้จนเกิดความติดใจ นายวรวิทย์ กล่าว

ซึ่งล่าสุดทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดย ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รอง ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ของไทยได้ติดตามถ่ายภาพที่ค่อนข้างชัดเจน และสวยงามได้ที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีระดับความสูงเหนือกลุ่มเมฆหมอกที่ลงหนาจัดปกคลุม โดยนำภาพมาเรียงซ้อนกันจำนวน 20 ภาพ จนเห็นเป็นดาวหางหัวสีเขียวที่มีหางยาวที่ชัดเจนขึ้น นายวรวิทย์ กล่าว

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook