ผลักดันประชารัฐ พัฒนา 52 ชุมชนริมคลองทั่วกรุงปลอดขยะ

ผลักดันประชารัฐ พัฒนา 52 ชุมชนริมคลองทั่วกรุงปลอดขยะ

ผลักดันประชารัฐ พัฒนา 52 ชุมชนริมคลองทั่วกรุงปลอดขยะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เปิดตัว 3 ประสาน “กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม-เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลอง-สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน” ขับเคลื่อนโครงการ “ประชารัฐร่วมใจ สร้างวินัยจัดการขยะชุมชนริมคลอง” ปลุก 52 ชุมชนริมคลองลาดพร้าว-บางซื่อ เรียนรู้การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางภายใต้หลัก 3Rs เพื่อพัฒนาสู่ความเป็น “ชุมชนปลอดขยะ” (Zero Waste) ลดปัญหามลพิษ ขยะอุดตัน กีดขวางการระบายน้ำในคูคลอง ป้องกันปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ประเดิมนำร่องทันทีที่ “ชุมชนต้นแบบศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54” เขตสายไหม

 

     นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการกำหนดมาตรการในการกำจัดขยะมูลฝอยให้สอดคล้องตามแนวทางประชารัฐ และดำเนินการกำจัดขยะในระบบระบายน้ำให้หมดไปโดยเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอุดตันช่องทางระบายน้ำและป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่เมื่อเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บและกำจัดขยะให้ถูกต้องเหมาะสมเป็นรูปธรรม เป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างทั้ง 3 หน่วยงาน ซึ่งเปรีบเสมือนกับเป็นการรวมพลังเครือข่ายประชารัฐเพื่อการจัดการขยะมูลฝอย จัดการสิ่งแวดล้อม และการปรับภูมิทัศน์ อันจะนำไปสู่ความเป็นชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

     ด้าน นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ความร่วมมือกันครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จของการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าวและคลองบางซื่อ ซึ่งมีเป้าหมายทั้งหมด 52 ชุมชน โดยขณะนี้ได้สร้างบ้านเสร็จไปแล้วจำนวน 12 ชุมชน รวม 839 หลังคาเรือน ซึ่งชุมชนที่สร้างบ้านเสร็จไปแล้วจะดำเนินการพัฒนาชุมชนในด้านอื่นๆ ต่อไป เช่น การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ รวมทั้งการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาการจัดการด้านขยะชุมชน เพื่อให้ชุมชนของประชาชนเป็นชุมชนที่น่าอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์อย่างรอบด้าน

     นายสมชาติ ภาระสุวรรณ รักษาการ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การพัฒนาที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนริมคลองที่สำเร็จได้ในวันนี้ เพราะ 1.เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล 2.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆโดยยึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือเป็นความร่วมมือแบบประชารัฐ และ 3.ความร่วมมือของพี่น้องในชุมชน เพราะหากพี่น้องไม่ร่วมมือ ร่วมใจ การทำงานต่างๆ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ ความร่วมมือต่างๆ เหล่านี้ ไม่ใช่เฉพาะการสร้างบ้านมั่นคงเท่านั้น แต่ต้องได้มากกว่าคำว่าบ้าน คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้าน

     นายอวยชัย สุขประเสริฐ ตัวแทนเครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลอง กล่าวว่ารัฐบาลมีโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลองเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งนอกจากจะมีการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่แล้ว ยังมีการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำทิ้งจากครัวเรือน การจัดการขยะในชุมชน โดยเฉพาะการจัดการขยะ เนื่องจากที่ผ่านมามีการทิ้งขยะลงในคูคลอง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างวินัยในการจัดการขยะ จึงได้มีการร่วมลงนามในวันนี้

     นายสากล ฐินะกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และ เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลอง ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ดำเนินโครงการ “ประชารัฐร่วมใจ สร้างวินัยจัดการขยะ ชุมชนริมคลอง” เพื่อสร้างวินัยและส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนริมคลองอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นนำร่องพื้นที่ต้นแบบในชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 เขตสายไหม ก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจะมีการขยายผลดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย คือ 52 ชุมชนริมคลองลาดพร้าวและบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ต่อไป

     ทั้งนี้สำหรับสาระสำคัญของบัญทึกข้อตกลงดังกล่าว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อาทิ วิทยากรอบรมให้ความรู้ สื่อเอกสารเผยแพร่ การศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมการดำเนินงาน การจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อมุ่งสู่ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ขณะที่เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลอง เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมรักษาความสะอาดบริเวณชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม และปรับภูมิทัศน์ รวมทั้งกิจกรรมคัดแยกขยะภายในครัวเรือนและการจัดการขยะมูลฝอยโดยหลัก 3Rs การลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ส่วนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จะให้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอย กิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม และการปรับภูมิทัศน์ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดชุมชนต้นแบบการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมริมคลอง




[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook