ทางเชื่อมแยกปทุมวัน” พร้อมเปิดให้บริการ ด้วยแนวคิดการออกแบบอารยสถาปัตย์และพื้นที่ศิลป์สาธารณะ

ทางเชื่อมแยกปทุมวัน” พร้อมเปิดให้บริการ ด้วยแนวคิดการออกแบบอารยสถาปัตย์และพื้นที่ศิลป์สาธารณะ

ทางเชื่อมแยกปทุมวัน” พร้อมเปิดให้บริการ ด้วยแนวคิดการออกแบบอารยสถาปัตย์และพื้นที่ศิลป์สาธารณะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

- พันธมิตรพลังสยาม (Siam Synergy) คืนกำไรสู่สังคม ปรับปรุงทางเชื่อมแยกปทุมวัน ตอกย้ำย่านสยามในฐานะจุดศูนย์กลางยอดนิยมทุกยุคทุกสมัย
- อำนวยความสะดวกสูงสุดให้แก่ผู้ที่สัญจรในย่านสยามที่เพิ่มขึ้นมากทุกปี ด้วยแนวคิดการออกแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) เพื่อคนทุกกลุ่มรวมถึงผู้สูงอายุและ บุคคลทุพพลภาพ
- ทางเชื่อมแยกปทุมวัน มีแรงบันดาลใจจากชื่อสี่แยกปทุมวัน สะท้อนออกมาเป็นงานศิลป์ Abstract รูปใบบัวลอยอยู่กลางสระน้ำ จับมือหอศิลป์(ต้องเขียนเชื่อเขาที่ถูกต้องให้เต็มๆ) ยกระดับเป็น Art District แห่งสำคัญของกรุงเทพมหานคร
- เชิญชวนประชาชนร่วมประกวดตั้งชื่อลานลอยฟ้าใหม่กลางกรุงเทพมหานครผ่าน www.siam-synergy.com


     สมาคมการค้าพลังสยาม หรือที่รู้จักกันในนามพันธมิตรพลังสยาม (Siam Synergy) พร้อมด้วยผู้ประกอบการในย่านสยาม พร้อมเปิดทางเชื่อมแยกปทุมวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่สัญจรไปมาภายในย่าน ด้วยการออกแบบอารยสถาปัตย์(Universal Design) เป็นการคืนกำไรให้สังคม


     ย่านสยาม ถือเป็นย่านที่เป็นหัวใจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจความเจริญทางด้านเศรษฐกิจการค้า การศึกษา ศิลปะนวัตกรรม ที่ได้รับความนิยมจากคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเสมอมา ในปัจจุบันมีจำนวนผู้สัญจรในพื้นที่ย่านสยามเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาในปี 2558 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พบว่าสะพานลอยคนเดินบริเวณเหนือ สี่แยกปทุมวัน ซึ่งเดิมเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามสแควร์นั้น มีสภาพเก่าและแคบ ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของปริมาณคนเดินเท้าในอนาคตที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 4.9 % ต่อปี และอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 9.83% ต่อปีอีกทั้งสภาพเดิมไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการสามารถสัญจรบนทางเชื่อมได้ทั่วถึงตลอดสี่แยก จึงได้ทำการปรับปรุงทางเชื่อมแยกปทุมวันทั้งหมดตั้งแต่ปี 2559ด้วยงบประมาณของเอกชน ให้มีความสวยงามเหมาะสมที่จะรองรับคนทุกกลุ่ม รวมถึงผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน โดยทางเชื่อมแยกปทุมวันแห่งนี้ มีแรงบันดาลใจจากชื่อสี่แยกปทุมวัน จึงมีใบบัวเป็นร่มเงาให้คนเดินได้โดยรอบ

     นอกจากนี้ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยจะร่วมมือจัดพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นย่านแห่งศิลปะ (art district) เป็นศูนย์รวมสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินไทย และต่างประเทศ จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง และเนื่องในโอกาสปฐมฤกษ์เปิดทางเชื่อมแยกปทุมวันเป็นครั้งแรกนี้ ได้รวบรวมศิลปินสตรีทอาร์ทชื่อดังของไทยซึ่งมีชื่อเสียงในต่างประเทศ ทั้งแนวกราฟฟิตี้ อิลลัสเตรชั่น ดรออิ้ง และเพ้นท์ติ้ง รวมทั้งสิ้น 13 ศิลปิน ประกอบด้วย ยุรี เกนสาคู, P7 หรือ พีระพงศ์ ลิ้มธรรมรงค์, จักรกฤษณ์ อนันตกุล, รักกิจ ควรหาเวช, เมธี น้อยจินดา, Pruch Sintunava, TRK, Peap Tarr & Lisa Mam, Mauy, JECK BKK, Floyd, และชาญณรงค์ ขลุกเอียด มาร่วมสร้างสีสีนให้กับอินสตอลเลชั่นอาร์ทบนใบบัว นับเป็นการรวมตัวของศิลปินสตรีทอาร์ทชั้นนำของไทยที่มาร่วมกันสร้างปรากฏการณ์งานศิลปะใจกลางกรุงเทพฯ ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง มหานครทั่วโลก ล้วนแล้วแต่มีลานลอยฟ้าในย่านสำคัญ เพื่อการสัญจรที่ปลอดภัยและสะดวกสบายของประชาชนเขื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก รวมทั้งเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สร้างแรงบันดาลใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น Highline New York, Seoul Sky Garden, Promenade plantée Paris

    ทั้งนี้ พันธมิตรพลังสยามขอเชิญชวนประชาชนทุกคน ประกวดตั้งชื่อทางเชื่อมแยกปทุมวันแห่งใหม่นี้ ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 100,000บาท ติดตามรายละเอียดและกติกาการประกวดตั้งชื่อ พร้อมส่งชื่อเข้าประกวดได้ทางไปรษณีย์ โดยวงเล็บมุมซองว่า "สมัครประกวดตั้งชื่อและออกแบบสัญลักษณ์ทางเชื่อมแยกปทุมวัน” มายังบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด (สำนักงานใหญ่) 989 อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้น 8 ถ.พระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หรือส่งทางอีเมลล์ siam_synergy@siampiwat.com, sstradeassociation@gamil.com ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 4 กันยายน 2560 ประกาศผลวันที่ 14 กันยายน 2560 และเผยแพร่ผลงานพร้อมชื่อเจ้าของ ผลงานที่ได้รับรางวัลทาง www.siam-synergy.com

 

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook