นายกฯ เมินโพล ยันก้าวข้าม "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" ปัดไล่ล่า

นายกฯ เมินโพล ยันก้าวข้าม "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" ปัดไล่ล่า

นายกฯ เมินโพล ยันก้าวข้าม "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" ปัดไล่ล่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกรัฐมนตรี เมินผลโพล ยัน ก้าวข้าม "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" แล้ว ติงสื่อที่ยังไม่ก้าวข้าม นำเสนออยู่ทุกวันทำสับสน ชี้ผิดหรือถูกยึดตามกฏหมาย  เชื่อมั่น ผอ.พศ.คนใหม่แก้ปัญหาองค์กรสงฆ์ได้ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผย ผลสำรวจที่ระบุว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกจัดอันดับเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดในรอบ 15 ปี จึงมองว่า สังคมยังไม่สามารถก้าวข้ามนายทักษิณได้ว่า ส่วนตัวก้าวข้ามไปนานแล้ว แต่มีหลายคนยังก้าวไม่ข้าม รวมถึงสื่อที่นำเสนอข่าวทุกวัน แต่ส่วนตัวลืมไปแล้ว เพราะเป็นเรื่องของกฏหมายที่ต้องดำเนินการ ส่วนการก้าวไม่พ้นเพราะมีการสร้างการรับรู้ที่ทำให้ก้าวไม่พ้น จึงต้องไปปล่อยให้กฏหมายดำเนินการไม่เช่นนั้นประเทศก็ไม่สามารถเดินหน้าไปต่อได้ จึงต้องช่วยกันอธิบายเหมือนที่ได้อธิบายกับต่างประเทศว่ามีความผิดอย่างไร ส่วนจะผิดหรือถูกก็อยู่ในกระบวนการ แต่หากหนีไปก่อนก็พิจารณาไม่ได้ คดีก็ติดค้างอยู่เช่นนั้น 

พร้อมย้ำว่า ไม่ได้ไปไล่ล่าใคร แต่เป็นความผิดที่เกิดขึ้นก่อนที่ส่วนตัวจะเข้ามา ขณะเดียวกัน ได้ก้าวข้าม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ขณะนี้ยังหาตัวไม่เจอด้วยหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนตัวก้าวข้ามทุกคนที่เป็นความขัดแย้ง แต่ไม่ได้ก้าวข้ามหัวหรือดูถูกใคร เพราะการก้าวข้ามคือการไม่นึกถึงและให้ความสำคัญกับคนเหล่านั้น

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติคนใหม่ ว่า เมื่อมีการเห็นชอบร่วมกันและมีการพิจารณาในคณะรัฐมนตรีแล้ว ก็ต้องมีความเชื่อมั่นในทุกตำแหน่ง และเชื่อว่าผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ คนใหม่ จะแก้ปัญหาทั้งในส่วนขององค์กรสงฆ์และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามที่ตนเองได้มอบหมายโดยไม่เกิดความขัดแย้ง ไม่เข้าข้างช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ให้ใคร ซึ่ง ผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ คนเก่าได้ทำหน้าที่นำคดีต่างๆ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งถือว่าหมดหน้าที่แล้ว หลังจากนี้สำนักพุทธฯ จึงมีหน้าที่ในการปฏิรูปและพัฒนาองค์กรของตัวเองและจะต้องดำเนินการตามกฏหมาย หากไม่ทำตามก็จะต้องเปลี่ยนผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ คนใหม่อีก 

ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องการคนเก่ง หรือ เลิศเลอ แต่ทำหน้าที่ของตนเอง ปฏิรูปองค์กรของตนเองได้ รวมถึงแก้ไขปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการที่เหมาะสม ภายใต้กฏหมายกระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่ โดยไม่ใช้กฏหมายพิเศษในการทำงาน ซึ่งเป็นคนที่ตนเองต้องการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook