ปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท ระหว่างสถาบัน

ปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท ระหว่างสถาบัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เรียบเรียง โดย หยก พิจิตร ปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท ระหว่างสถาบัน

มีผลกระทบกับสังคมเป็นวงกว้างและความรู้สึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก สำหรับปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท ระหว่างสถาบันทั้ง2 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้เขียนได้อ่านงานวิทยานิพนธ์ เรื่อง เงื่อนไขทางสังคมที่มีผลต่อปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ:ศึกษากรณีโรงเรียนอาชีวะแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ของคุณทิวา วงศ์ธนาภา วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2539 ISBN 974-634-355-6 ผู้เขียนขออ้างอิง 7 ประเด็น และเสนอแนวคิดเพิ่มเติม ดังนี้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1)ทำให้เกิดมิติในการมองปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะที่มุ่งจะทำความเข้าใจต่อเบื้องหลังแห่งสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมการทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันของนักเรียนอาชีวะ แทนที่จะยึดติดกับรูปแบบเดิมๆที่มุ่งเน้นในประเด็นการหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข

2)ทำให้ทราบถึงว่าเงื่อนไขทางสังคมภายในบริบท และสภาพแวดล้อมของสถาบันว่ามีกระบวนการทางสังคมอะไรบ้างที่เป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ และกระบวนการดังกล่าวมีแบบแผนและกลไกอย่างไร

3)ทำให้สามารถเข้าใจในโลกทัศน์ วิธีคิด วิธีการให้เหตุผลของนักเรียนอาชีวะที่มีพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาทได้ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว

4)ทำให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจที่จะนำไปสู่หนทางในการวางแผนและมาตรการต่างๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่ช่วยลดพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ

จุดประสงค์หลักที่ผู้เขียนต้องการ คือ เพื่อให้สังคมได้เข้าใจถึงเบื้องหลังแห่งสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมการทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบัน เงื่อนไขทางสังคม สภาพแวดล้อม กระบวนการทางสังคมที่เป็นเงื่อนไข ในเชิงวิชาการ ทำให้เข้าใจโลกทัศน์ วิธีคิดของนักศึกษา อันจะนำไปสู่การวางแผนและมาตรการต่างๆ

กรอบแนวความคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา

......การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ในลักษณะใดๆก็ตาม ส่วนหนึ่ง ได้ผ่านการคิดหรือพิจารณาอย่างมีเหตุผลของผู้แสดงพฤติกรรมมาแล้ว แต่ เหตุผล ของผู้แสดงพฤติกรรมอย่างเดียวกันอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ และเหตุผลของแต่ละคนก็ยังถูกกำหนดโดยเนื้อหาของประวัติศาสตร์ของตนเองด้วย แต่มีลักษณะที่ตรงกันทุกกรณีคือ พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกจะต้องมีความหมายกับตัวเขาเอง และความหมายของแต่ละคนก็อาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้

พฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษาทั้งสองสถาบันนั้นถูกกำหนดด้วยเหตุผลและมีประวัติศาสตร์ของตนเอง ที่สำคัญมันมีความหมายกับตัวของนักศึกษาเอง แต่ความหมายของเหตุผลอาจแตกต่างกับที่สังคมคาดหวัง

3.เนื้อหาหลักของกรอบแนวคิดนี้ คือ มนุษย์ทำการตีความโลกของตนเอง ความหมายไม่ได้ผูกติดกับคน หรือวัตถุที่ด้เป็นเพียงการตอบสนองโดยอัตโนมัติต่อสิ่งเร้าแต่เป็นการสร้างสรรค์ที่เป็นผลจากการตีความสถานการณ์และคนอื่นๆที่ร่วมกันปฎิสังสรรค์ ในขณะนั้น

กรอบแนวคิดที่นำมาใช้คือ กรอบแนวคิดการปฎิสังสรรค์สัญลักษณ์ (Symbolic Imteractionism) มีสมมติธรรม 3 ประการ (หน้า 20) มีเนื้อหาเชิงวิชาการ ผู้เขียนไม่ขอกล่าว แต่สรุปเนื้อหาหลัก ดังนี้

โลกของนักศึกษาที่พวกเขามองและสัมผัสรับรู้นั้นไม่ได้มองอย่างเรา ไม่ได้ตีความหรือผูกติดกับสิ่งที่สังคมคิดว่าเป็นมาตรฐาน ประเด็นสำคัญ คือ สิ่งที่เขาเผชิญหน้ารับรู้ เป็นสิ่งที่เขาให้ความหมายแก่มันเอง นั่นไม่ได้หมายความว่า นักศึกษาหลงผิด แต่กระบวนการและการปฏิสังสรรค์ของบุคคลในสถาบันที่เขาอยู่ ทำให้ตีความตามแบบแผนและกลไกที่วางไว้

4. แนวทางการศึกษาครั้งนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในสังคมของนักเรียนอาชีวะภายบริบทและสภาพแวดล้อมของสถาบันที่เขาดำเนินชีวิตอยู่ ซึ่งก็คือ การเข้าใจโลกและสังคมของเขา ตลอดจนกระบวนการปฎิสังสรรค์ที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจได้ถึงกระบวนการแห่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมของเขา..

การทำความเข้าใจพฤติกรรมของนักศึกษาเช่นนี้ ต้องเพิ่มมุมมองบางมิติเข้าไป เนื่องจากมีองค์ความรู้ทางอาชีวะศึกษายังมีไม่พอ จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมเช่นนี้ได้ สถาบันฯ เพิ่งปรับโครงสร้างเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาได้ประมาณ 2 ปี วัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม ประเพณีต่างๆ การปรับตัวของบุคลากรและองค์กรให้เกิดบรรยากาศเชิงวิชาการทำได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งต่ำกว่าที่สังคมคาดหวังไว้ จึงเกิดกระแสความไม่พอใจของสังคม ซึ่งนำไปสู่การยุบหรืองดรับนักศึกษาของสถาบันฯทั้งสอง เป็นธรรมชาติเมื่อมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทส่งผลกระทบในวงกว้างย่อมเป็นที่วิพากษ์ของสังคม ต้องมีจำเลยของสังคม และสมควรมีบทลงโทษ อาจจะด้วยอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้องประการใดก็ตาม แต่สังคมแห่งปัญญาต้องหาปัจจัยที่เป็นเหตุ และดับเหตุนั้น

ผู้เขียนขอผ่านบทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย และบทที่ 4 ภาพรวมของปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท

5.เงื่อนไขที่นำไปสู่การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของการก่อเหตุ

1)การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน..

2)การให้ความหมายและการตีความ.....

2)ความรู้สึกแห่งศักดิ์ศรี.....

ผู้เขียนเห็นด้วยว่า กิจกรรมการรับน้องเป็นกระบวนการแรกสุดและสำคัญที่สุดของการเกิด

ตัวตนแห่งสถาบัน เพราะเป็นกลไกที่ทำให้บุคคลเรียนรู้ถึงแบบแผนและการดำเนินชีวิตของแต่ละสถาบัน สามารถปลูกฝังค่านิยม จัดระเบียบแนวคิดของบุคคลที่เข้ามาเป็นนักศึกษาน้องใหม่ ทำให้เกิดความหมาย การตีความ และความรู้สึกแห่งศักดิ์ศรี

6.เมื่อพิจารณาถึง"อาณาเขตของศักดิ์ศรี จะมีการสร้างความหมายในเชิงสัญลักษณ์กับวัตถุต่างๆที่ถือว่าเป็นตัวแทนของสถาบันซึ่งรวมถึงอาณาเขตของสถานที่ที่อยู่ในการครอบครอง(การเป็นเจ้าถิ่น)ใครมาละเมิดมิได้ ซึ่งใครมาละเมิดอาณาเขตของศักดิ์ศรี ก็เท่ากับเป็นการละเมิดสถาบัน

แหวนรุ่น เสื้อฝึกงาน หรือหัวเข็มขัด โปสเตอร์ บัตรเข้างาน อะไรก็ตามที่มีสกรีนพระพักตร์องค์พระวิษณุกัญลักษณ์ ถือว่าเป็นตัวแทนของสถาบัน อีกทั้งบริเวณศูนย์การค้าที่ตกลงรู้กันว่า โซนตรงไหนเป็นอาณาเขตของศักดิ์ศรีของใคร ดังนั้น การละเมิดอาณาเขต ที่ตกลงกันไว้ จึงเท่ากับ ละเมิดสถาบัน ประเด็นนี้ จึงอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552

7 มาตรการแก้ไข ควรเป็นลักษณะที่คำนึงถึงเงื่อนไขทางสังคมของสถาบันฯ

1)ใช้วิธีการที่นุ่มนวลในการแทรกแซงหรือเบี่ยงเบนความสนใจของนักศึกษาในสถาบันฯ ไม่ควรใช้วิธีการลงโทษหรือห้าม เพราะทำให้เกิดแรงเสริมในการต่อต้าน

มาตรการนี้ผู้เขียนเห็นว่าไม่สามารถเยียวยาอาการของโรคได้ในสถานการณ์เช่นนี้ ต้องดำเนินตามนโยบายและมาตรการข้อที่ 1 ซึ่งกระทรวงฯประกาศออกมา

2)ร่วมสร้างสรรค์ในประเพณีของสถาบันบางอย่าง เพื่อให้เกิดคุณค่าที่เป็นมาตรฐานเดียวกับสังคม เช่น กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา โครงการบำเพ็ญประโยชน์ ฯลฯ

มาตรการนี้เห็นด้วย แต่การจัดกิจกรรมอาทิ ปลูกฝังคุณธรรม อบรมสมาธิ เข้าค่ายฝึกระเบียบวินัยแบบทหาร หรือตำรวจ กิจกรรมแนวนี้ไม่น่าจะเป็นกิจกรรมหลักแต่อาจเสริมเป็นกิจกรรมรองได้

3)ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของนักศึกษาที่จะเข้าสู่การเรียนสายนี้เกี่ยวกับภาพตายตัวใน

ความหมายที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือลดความสำคัญของตัวตนแห่งสถาบันให้มีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคลมากขึ้น

มาตรการนี้ต้องขอความร่วมมือจากสื่อสารมวลชน เพราะเป็นเรื่องของภาพลักษณ์ อีกทั้งต้องใช้เวลาในปรับทัศนคติ ที่สำคัญผู้ใหญ่ในสังคมต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

4)ให้มีแนวทางในการที่จะแสดงออกถึงความสามารถหรือศักดิ์ศรีในรูปแบบใหม่ที่ยอมรับทั่วไปในสังคม

ดังนั้นโครงการที่จะแสดงออกทางถึงความสามารถหรือศักดิ์ศรีในรูปแบบใหม่ที่ยอมรับทั่วไปในสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะร่วมกันคิดขึ้นมา ตามนโยบายของกระทรวงฯ ข้อ 7

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook