จุฬาฯเจ๋ง! ผ่าตัดปลูกถ่ายไตสำเร็จรายแรกของประเทศ

จุฬาฯเจ๋ง! ผ่าตัดปลูกถ่ายไตสำเร็จรายแรกของประเทศ

จุฬาฯเจ๋ง! ผ่าตัดปลูกถ่ายไตสำเร็จรายแรกของประเทศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีหวัง ผ่าตัดปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดสำเร็จ

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. รศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงข่าว "ผลสำเร็จในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด" ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย ว่า คณะแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ส่งทีมปลูกถ่ายไตไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีการผ่าตัดด้วยวิธีนี้อย่างแพร่หลายและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ซึ่งในอนาคตโรงพยาบาลจุฬาฯจะขยายผลการรักษาด้วยวิธีนี้ให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเร็วที่สุด ไม่ต้องรอรับการบริจาคไตเป็นเวลานาน ซึ่งขณะนี้มีผู้บริจาคไต เพียงปีละ 300 ราย แต่มีผู้รอบรับบริจาคไตมากถึง 2,000 ราย

รศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สัปดาห์ละ 2 ครั้งมาตลอดเป็นเวลา 5 เดือน ซึ่งการผ่าตัดครั้งนี้ผู้ป่วยรับบริจาคไตจากน้องชายที่มีหมู่เลือด เอ ขณะที่ผู้ป่วยมีหมู่เลือด โอ และเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพได้ร่วมกันประเมินข้อมูลทั้งหมดของผู้ป่วยและน้องชายและอนุมัติให้ดำเนินการ โดยทำการผ่าตัดเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 ผลการผ่าตัดดีมาก ผู้ป่วยมีปัสสาวะออกทันทีหลังการผ่าตัดแสดงว่าไตมีการทำงานปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และจนถึงขณะนี้มีการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 เดือนถือเป็นระยะปลอดภัย ที่แสดงว่าผลการผ่าตัดค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงดี ไตใหม่เริ่มทำงานได้เป็นปกติ สามารถปฏิบัติงานในอาชีพพยาบาลได้

รศ.นพ.ยิ่งยศ กล่าวว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดมีผลสำเร็จการทำงานของไตมากกว่า ร้อยละ 90 แต่ต้องทานยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต และต้องนอนโรงพยาบาลก่อนการผ่าตัด 7 วัน เพื่อดำเนินการเอาแอนตี้บอดี้ของผู้ป่วยที่อาจจะต่อต้านการรับไตของผู้ให้ที่มีหมู่เลือดต่างกันออกไปด้วยการฟอกไต และพักหลังการผ่าตัดอีก 7 วัน รวมเป็น 14 วัน มากกว่าการผ่าตัดแบบหมู่เลือดตรงกันที่นอนโรงพยาบาลเพียง 5-7 วันเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายจากปกติอยู่ที่ 2.5 แสนบาทจะเพิ่มเป็น 5 แสนบาท ซึ่งส่วนต่าง 2.5 แสนบาทผู้ป่วยเป็นผู้รับภาระที่เหลือสามารถเบิกได้ตามสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ทั้งสิทธิข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook