กรมศิลปากรจำลองแปลงนาข้าว เลข 9 ด้านหน้าพระเมรุมาศ ด้วยแรงบันดาลใจจากวังสวนจิตรลดา

กรมศิลปากรจำลองแปลงนาข้าว เลข 9 ด้านหน้าพระเมรุมาศ ด้วยแรงบันดาลใจจากวังสวนจิตรลดา

กรมศิลปากรจำลองแปลงนาข้าว เลข 9 ด้านหน้าพระเมรุมาศ ด้วยแรงบันดาลใจจากวังสวนจิตรลดา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แปลงนาข้าว เลข 9 ในแผนผังพระเมรุมาศ

คณะผู้จัดสร้างพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จัดสวนแปลงนาข้าวเลข 9 อันงดงามขึ้นด้านหน้าพระเมรุมาศ สื่อความหมายถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยได้แรงบันดาลใจมาจากวังสวนจิตรลดา หรือพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  อันเป็นสวนในพระราชวังของพระองค์ท่าน สถานที่ทดลองโครงการส่วนพระองค์ที่เกี่ยวกับการเกษตรและเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ตามแนวพระราชดำริในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อคิดค้นแนวทางแก้ปัญหาด้านการเกษตรให้แก่ประชาชน สร้างประโยชน์สุขต่อพสกนิกรชาวไทย 

แผนผังพระเมรุมาศ

นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการด้านภูมิสถาปัตยกรรมประกอบพระเมรุมาศ พร้อมปลูกต้นข้าวในแปลงนาเลข 9

นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการด้านภูมิสถาปัตยกรรมประกอบพระเมรุมาศ พร้อมปลูกต้นมะม่วงมหาชนก

ทั้งนี้ สวนด้านหน้าพระเมรุมาศ ออกแบบคันนาสำหรับปลูกข้าวเป็นรูปเลข 9 รวมถึงปลูกพืชชนิดอื่นๆ อาทิ หญ้าแฝก ยางนา มะม่วงมหาชนก เป็นต้น ดินที่ใช้เป็นดินผสมทรายสีทองเพื่อให้สวนมีความโดดเด่นมากขึ้น อีกทั้งยังมีการติดตั้งกังหันชัยพัฒนา สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยวิธีการเติมอากาศ ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้คิดค้นพัฒนาขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อใช้บำบัดน้ำเสียในทั่วทุกภูมิภาคของไทย โดยแปลงนาข้าวด้านหน้าพระเมรุมาศที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นแปลงนานอกสถานที่ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างมาเลยทีเดียว

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook