ย้อนดูเส้นทางหนีทุน หมอดลฤดี ไม่มี หนี ไม่จ่าย

ย้อนดูเส้นทางหนีทุน หมอดลฤดี ไม่มี หนี ไม่จ่าย

ย้อนดูเส้นทางหนีทุน หมอดลฤดี ไม่มี หนี ไม่จ่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่มติของคณะกรรมการทันตแพทยสภาได้ลงดาบทันตแพทย์หญิงดลฤดี อดีตอาจารย์ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ขอทุนไปเรียนต่อปริญญาโทและเอก ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

แต่ไม่ชดใช้ทุนรัฐบาลตามสัญญา จนทำให้ผู้ค้ำประกันทั้งหมดต้องชดใช้แทน ด้วยการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศไทย แต่ก็ไม่ครอบคลุมการประกอบวิชาชีพในต่างประเทศ

ซึ่งกรณีนี้เป็นครั้งแรกที่ทันตแพทยสภามีมติเพิกถอนใบอนุญาตที่เป็นใบเบิกทางของวิชาชีพทันตกรรมกลายเป็นความด่างพร้อยที่เกิดขึ้นในแวดวงทันตแพทย์ของประเทศไทย

1fgg

พร้อมทิ้งคำถามที่กลายเป็นปริศนาของคนไทยทั้งประเทศเพราะเหตุใดถึงยอมหนีทุนไม่ยอมชดใช้ค่าปรับใดๆ จนคนค้ำประกันต้องเป็นทุกข์กับหนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ส่วนตนเองได้รับโอกาสที่ดีในต่างประเทศและมีรายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว..?

จุดเริ่มต้นของมหากาพย์หนีทุน ไม่มี หนี ไม่จ่าย เริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559

เมื่อ ทพ.เผด็จ พูลวิทยกิจ ได้ออกมาโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ตนเองและเพื่อนๆ พร้อมกับอาจารย์ ได้ค้ำประกันให้กับอดีตอาจารย์ทันตแพทย์ที่ได้รับทุนศึกษาต่อที่อเมริกา

โดยหวังว่าเขาจะกลับมาทำประโยชน์แก่ส่วนรวม แต่สิ่งที่ได้รับคือเขาหนีทุนพร้อมอ้างว่าไม่มีเงิน ทั้งๆ ที่เขาทำงานเป็นนักวิจัยที่ ม.ฮาร์วาร์ด รับเงินเดือนสูง อยู่อพาร์ตเมนต์หรูหราในอเมริกา”

หลังจากเรื่องนี้เผยแพร่ออกไปชาวเน็ตต่างขุดคุ้ยประวัติทันตแพทย์หญิงดลฤดีคนนี้จนพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า เป็นคนเรียนเก่งจบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ห้อง King 1 และได้เป็นอาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนจะขอทุนไปเรียนต่อปริญญาโทและเอก ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

dfewf

เมื่อเรียนจบก็ได้สามีที่สหรัฐอเมริกาจึงปักหลักอยู่ที่ต่างประเทศไม่กลับเมืองไทยและไม่ยอมชดใช้ทุนตามสัญญา โดยได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พร้อมยังมีคลินิกทันตแพทย์เป็นของตัวเอง และซื้อบ้านในเมืองนิวตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลังจากเกิดเรื่อง ทันตแพทย์หญิงดลฤดีได้ติดต่อกลับมายังผู้ค้ำประกัน พร้อมกลับยืนยันเช่นเดิมว่าตนเองไม่มีเงิน ให้ช่วยจ่ายไปก่อนและจะพยายามหาเงินมาคืนให้ในภายหลัง โดยในเนื้อหาไม่มีคำขอโทษใดๆ จากดร.สาว ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเลย

"อย่างที่ดิฉันเคยบอกไปแล้วค่ะ พี่ปุ้ย, พี่เผด็จ และอาจารย์อารยา ดิฉันจะจ่ายเงินกู้คืนให้ทั้งหมด พร้อมกับดอกเบี้ย ตอนนี้ดิฉันยังพยายามหาทางจ่ายเงินคืนพวกคุณอยู่ บางทีคงจะดีกว่า ถ้าคุณฟังเรื่องราวจากดิฉันโดยตรง เพื่อจะได้มั่นใจว่าดิฉันจะทำตามที่สัญญาไว้

ดินฉันเพิ่งได้คุยกับพี่ปุ้ย เขารู้ถึงเจตนารมณ์และความจริงใจของดิฉันอย่างดีค่ะ รบกวนช่วยบอกเบอร์โทรศัพท์ติดต่อและเวลาที่สะดวก ดิฉันจะโทรกลับไปหาคุณค่ะ"

hlkop

แต่ทั้งนี้ข้อความที่ปรากฏช่างสวนทางกับข้อมูลที่มีการนำมาเผยแพร่ในโลกโซเชี่ยลอย่างสิ้นเชิง โดยพบว่า ทันตแพทย์หญิงดลฤดี ไม่น่าจะขัดสนถึงขนาดไม่มีเงินผ่อนจ่ายทุนที่ยืมเรียนและสร้างชีวิตใหม่ให้เธอเพราะ

"ธุรกิจคลีนิคทำฟันของเธอ มีรายได้ประมาณปีละ 1 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 36 ล้านบาทต่อปี หากรวมเงินเดือนอาจารย์ ม. ฮาร์วาร์ด (senior Lecturer อยู่ระหว่าง 171,466 - 227,800 เหรียญต่อปี) จะมีรายได้รวมต่อปีประมาณ 1.2 ล้านเหรียญต่อปี หรือประมาณ 42 ล้านบาทต่อปี(ยังไม่หักภาษี)"

และเมื่อปี 2014 ครับ ยังพบว่าเธอและสามีชาวอเมริกันเพิ่งซื้อบ้านใหม่ ที่ตั้งอยู่ในชุมชนคนชั้นสูง ราคาประมาณ 45 ล้านบาท

แต่ด้านสามีของ ทันตแพทย์หญิงดลฤดี ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงสาเหตุที่ไม่มีเงินใช้หนี้เป็นเพราะว่ารายได้ของแฟนสาวนั้นได้นำไปชำระค่าเช่าบ้านและค่าทนายที่ดำเนินเรื่องในเรื่องกรมตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งในช่วงเวลา 3 ปี เธอไม่ได้มีรายได้เลยและไม่มีทรัพย์สินด้วย

tgtrrt

สามีทันตแพทย์หนีทุน ร่อนจม. แจงไม่มีเงินใช้หนี้

ผมเป็นผู้ที่ดูแลอุปการะเธอในช่วงนั้น ซึ่งก็ทำให้ทรัพย์สินของผมก็ลดลงด้วย ส่วนบ้านนั้นผมซื้อโดยที่แฟนสาวไม่ได้ร่วมชำระค่าเงินดาวน์บ้านและยังมีรายจ่ายในชีวิตประจำวันอีกเยอะ เช่น ค่าดูแลลูก ค่ากินค่าอยู่ ค่าน้ำค่าไฟค่า ผ่อนบ้าน ฯลฯ

พร้อมเสริมอีกว่าหากต้องผ่อนชำระหนี้ภายใน 2.5 ปี คงไม่สามารถทำได้เนื่องจากว่ายอดหนี้สูงกว่ารายได้เฉลี่ยอเมริกันของ 2 คนที่ทำงานเต็มเวลา ฉะนั้นผมและภรรยาจึงไม่สามารถชำระเงินได้จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น

แต่ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ฟ้องร้องให้ ทันตแพทย์หญิงดลฤดี กลับมาชดใช้ทุนและมีคำตัดสินเมื่อเดือนมีนาคม 2559 โดยศาลล้มละลายกลาง สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของ ทันตแพทย์หญิงดลฤดี ที่หนีทุนเพื่อนำไปชำระหนี้ให้มหาวิทยาลัยมหิดลกว่า 2 ล้านบาท ชดใช้เงินให้ สกอ. อีกกว่า 20 ล้านบาท

ก่อนที่ทางทันตแพทยสภาได้มีมติเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีทันตแพทยสภาของ ทันตแพทย์หญิงดลฤดี เพราะประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม

rfeeg

ซึ่งล่าสุด ทันตแพทย์หญิงดลฤดีได้ย้ายที่ทำงานไปเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน มีเงินเดือนประจำปีเฉลี่ย 122,793 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 4,299,264 บาท) ยังไม่รวมค่าตอบแทนที่ควบตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ดูแลสุขภาพในช่องปาก (Director of the new Pediatric Oral Healthcare Center) และคลินิก ซึ่งปกติคลินิกได้วันละประมาณ 500 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 17,506 บาท)

หากมองไปที่ตัวเลขเชื่อว่าใครๆหลายคนก็คงคิดไปในทำนองเดียวกันว่ารายได้ขนาดนี้ถึงจะไม่สามารถชดใช้เป็นเงินก้อนได้ทั้งหมด ก็น่าจะแบ่งสันปันส่วนผ่อนจ่ายหนี้ให้กับคนค้ำประกันได้บ้าง เพราะคนที่รับเคราะห์คือคนที่หวังดีที่ยื่นโอกาสให้ได้มายืนอยู่ในจุดนี้

หากเพียงแต่ใช้ข้ออ้างว่าเดือดร้อนเพราะมีปัญหาทางด้านการเงิน แล้วคนที่รับเคราะห์แทนล่ะจะรู้สึกเช่นไร ใจคุณคงรู้ดีเพราะมีปัญหาไม่ต่างกันเลย....

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook