อภิสิทธิ์ยันส่งเอสเอ็มเอสมุ่งแก้แตกแยก

อภิสิทธิ์ยันส่งเอสเอ็มเอสมุ่งแก้แตกแยก

อภิสิทธิ์ยันส่งเอสเอ็มเอสมุ่งแก้แตกแยก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สุรพงษ์ ตั้ง 7 ข้อกล่าวหา อภิสิทธิ์ ส่งเอสเอ็มเอสรับตำแหน่ง เป็นการใช้อำนาจมิชอบ มีการเรียกร้องผลประโยชน์ อภิสิทธิ์ ยันดำเนินการไปอย่างถูกต้องคำนึงหลักสิทธิเสรีภาพ มุ่งแก้ความแตกแยก

(19มี.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่อมา นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม หลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับการโหวตจากสภาฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์มือถือ(เอสเอ็มเอส) ให้ลูกค้าบริษัทมือถือทั้ง 3 แห่ง โดยได้มีโทรศัพท์จากบุคคลหนึ่งติดต่อไปยัง 3 บริษัทมือถือ

ประกอบด้วยบริษัทเอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ ขอความร่วมมือส่งข้อความจากนายอภิสิทธิ์ มาถึงเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 2551 เวลา 08.00 น. นายจิรายุ ดุลยานนท์ นักวิชาการคณะทำงานผู้นำฝ่ายค้าน เชิญผู้บริหารทั้ง 3 บริษัทเข้าประชุมที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โผล่ร่วมด้วย

"และได้รับทราบว่าการส่งเอสเอ็มเอสนั้น ผู้รับต้องมีความประสงค์รับ รวมทั้งการส่งมีค่าใช้จ่ายครั้งละ 1 บาท นายจิรายุจึงได้ขอร้องให้ทั้ง 3 บริษัทส่งเอสเอ็มเอส นายกรณ์ได้แจ้งว่าจะส่งจดหมายขอความร่วมมือให้ภายหลัง หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ประชาชนได้ร้องเรียนไปยังบริษัทมือถือทั้ง 3 แห่ง ทำให้จากเดิมที่ต้องส่งเอสเอ็มเอส 50 ล้านเลขหมาย เหลือเพียงแค่ 5 ล้านเลขหมาย" นายสุรพงษ์ กล่าวและว่า

เหตุการณ์ดังกล่าว ตั้งข้อกล่าวหา 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ 2.เรียกร้องรับผิดประโยชน์เกิน 3,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)กำหนดไว้ 3.ละเมิดสิทธิคนใช้มือถือ 4.ร่วมกันนำข้อมูลส่วนบุคคลให้บริษัทเอกชนทั้งที่ไม่ได้รับการยินยอม 5.ร่วมกับบริษัทเอกชนสมรู้ร่วมคิด หลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีเข้ารัฐ 6.ทำให้รัฐขาดรายได้ส่วนแบ่งจากสัมปทานมือถือ และ 7.ฉ้อโกงหรือฉ้อฉลเอกชนบริษัทมือถือทั้ง 3 บริษัท โดยไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ตกลง

นอกจากนี้ ส่งรหัสไปรษณีย์ 5 หลักกลับมาให้บริษัทมือถือ ซึ่งจะทำให้รู้ได้ว่าผู้ส่งรหัสไปรษณีย์กลับมานั้นอยู่พื้นที่ใดในประเทศไทย อดคิดไม่ได้ ว่านายกฯ หวังตรวจสอบความนิยมในตัวเองและพรรคประชาธิปัตย์

นายอภิสิทธิ์ ได้ลึกขึ้นชี้แจงว่า ต้องยอมรับว่าตอนตนเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นสังคมไทยมีความแตกแยกสูงมาก จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีประสานสร้างความสมานฉันท์ จึงได้ปรึกษาทีมงานแต่ก็ได้กำชับให้ต้องเป็นไปตามกฎหมายและคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ โดยผู้เกี่ยวกับไม่ได้ผลประโยชน์ทั้งสิ้นแม้นแต่ทางการเมือง

ส่วนกรณีที่ระบุเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ก็ได้มีการปรึกษาฝ่ายกฎหมายแล้ว หากเป็นการประชาสัมพันธ์ภาครัฐแล้วก็สามารถทำได้ และผู้ที่รับเอสเอ็มเอสนั้นก็สิทธิ์ที่จะรับหรือไม่รับได้อยู่แล้ว

เสร็จแล้วนายกรณ์ ได้ชี้แจงยอมรับว่า ได้เดินทางไปปรึกษาหารือกับนายจิรายุที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์จริง ซึ่งก็ไม่ได้ลึกลับอะไร และไม่มีการเอื้อต่อบริษัทเอกชนแต่อย่างใด

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook