กลโกงแบบใหม่! ส่งตรงถึงที่เสียเงินฟรีไม่รู้ตัว

กลโกงแบบใหม่! ส่งตรงถึงที่เสียเงินฟรีไม่รู้ตัว

กลโกงแบบใหม่! ส่งตรงถึงที่เสียเงินฟรีไม่รู้ตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธุรกิจการซื้อขายของออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากเพราะความสะดวกสบายของเทคโนโลยีและการส่งสินค้าที่มีหลายบริษัทให้บริการไม่ว่าจะซื้อในประเทศหรือนอกประเทศเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสบวกกับเงินในกระเป๋า เท่านี้คุณก็จะได้สินค้ามาไว้ในครอบครองโดยไม่ต้องออกไปไหนรอจิบน้ำชาที่บ้านอย่างชิวๆ

แต่บางครั้งความสะดวกสบายก็อาจแฝงมาด้วยภัยอันตรายของมิจฉาชีพที่อาศัยช่องโหว่ของการบริการคิดค้นกลโกงที่จะต้มตุ๋นเงินในกระเป๋าของเราอย่างง่ายดาย

อย่างเช่นกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งนามว่า "Yutha Krainarong" ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับกลุ่มมิจฉาชีพที่ส่งสินค้ามาจากประเทศจีนในรูปแบบ พัสดุ พร้อมกลวิธีที่จะหลอกเอาเงินจากเหยื่อและที่สำคัญกลโกงเหล่านี้มีผู้ตกเป็นเหยื่อมาแล้วหลายราย

1wqw

กลโกงของมิจฉาชีพพวกนี้จะใช้เงินหมื่นแลกเงินแสนส่งตรงถึงที่เสียเงินฟรีไม่รู้ตัว

วิธีการของแก๊งต้มตุ๋นพวกนี้จะทำการส่งพัสดุเก็บเงินปลายทางผ่านบริษัทเอกชน โดยที่ลูกค้าจะไม่สามารถเปิดของดูได้เว้นเสียแต่ว่าจะเซ็นรับจะจ่ายเงินค่าของเสียก่อน ซึ่งกลโกงนี้ดูแยบยลมากเพราะแก๊งเหล่านี้จะส่งของมาตามบ้านด้วยการสุ่ม

แต่ทั้งนี้ชื่อที่อยู่และเบอร์โทรของผู้รับจะตรงกับเจ้าตัวหรือคนในบ้านจริงๆ ทำให้คนในบ้านหรือเจ้าของยอมเซ็นรับและจ่ายเงินทั้งๆที่อาจจะไม่ได้สั่งซื้อสินค้านั้นจริงๆ โดยราคาสินค้ารวมค่าส่งแล้วจะอยู่ระหว่าง 900 จนถึงเกือบถึง 2,000 บาทต่อชิ้น

แต่เมื่อแกะดูสินค้าแล้วกลับพบว่าของที่อยู่ด้านในนั้นเป็นของที่ไม่มีราคาเอาเสียเลย หรือ บางกล่องเป็นแค่เศษกระดาษหรือกล่องเปล่าก็มี ซึ่งกว่าจะรู้เงินก็อาจจะโอนไปยังปลายทางผู้ส่งที่เป็นมิจฉาชีพเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายต้องเสียรู้สูญเงินไปอย่างน่าเจ็บใจ

1wdwf

ทั้งนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าการที่แก๊งต้มตุ๋นส่งพัสดุไม่มีราคาเพื่อมาเก็บปลายทางจะคุ้มค่าหรือไม่หากไม่มีคนรับหรือถูกปฏิเสธที่จะรับของ

ซึ่งหากลองคำนวณกันเล่นๆ ถ้าแก๊งมิจฉาชีพพวกนี้ส่งสินค้ามาประมาณ 100 กล่อง โดยมีค่าส่ง 100 บาท บวกค่าแพ็คและค่ากล่องอีกประมาณ 100 บาท จะมีต้นทุนเท่ากับ 200 บาทต่อกล่องเป็นเงินลงทุน 20,000 บาท

จากนั้นสมมุติว่าคิดค่าสินค้าเก็บเงินปลายทางขั้นต่ำกล่องละ 1,000 บาท จำนวน 100 กล่องจะเป็นเงินทั้งหมด 100,000 บาทเลยทีเดียว ถ้ามีผู้รับเพียงครึ่งหนึ่งหรือแค่ 50% ก็เพียงพอต่อการลงทุนเอาเงินหมื่นไปแลกเงินแสนที่ไม่ต้องมีต้นทุนใดๆ นอกจากคำว่าโกงล้วนๆ

ทั้งนี้ยังพบข้อมูลจากบริษัทเอกชนที่ให้บริการขนส่งพัสดุทั่วไปว่า ณ ปัจจุบันมีลูกค้าหลายรายที่ตกเป็นเหยื่อและมีมูลค่าความเสียหายเยอะมาก โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงขอให้ลูกค้าระมัดระวังตัวให้ดีหากไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อสินค้าจริงหรือไม่ให้ติดต่อไปยังเบอร์ของบริษัทผู้ส่งก่อนเพื่อความแน่ใจนั่นคือคำแนะนำจากบริษัทขนส่งเอกชน

1wfr

ส่วนอีกหนึ่งคำถามที่คาใจ เหตุใดแก๊งมิจฉาชีพจากต่างประเทศพวกนี้จึงรู้ชื่อที่อยู่และเบอร์โทรเหยื่ออย่างถูกต้อง ซึ่งได้มาจากแหล่งใด..?

จากการสืบหาข้อมูลและสอบถามผู้ที่เคยซื้อของออนไลน์และตกเป็นเหยื่อได้เปิดเผยกับ Sanook News! พบว่า “ข้อสันนิฐานที่จะเป็นไปได้มากที่สุดที่พวกแก๊งมิจฉาชีพได้ชื่อที่อยู่กับเบอร์โทรเหยื่อมาจากเว็ปไซต์ที่ซื้อขายของแบบราคาถูกและส่วนใหญ่ของที่ได้จะไม่ตรงกับรูปโฆษณาอีกด้วย

อย่างเช่นหากเราสั่งซื้อสินค้าตามเว็ปเมื่อจ่ายเงินแล้วก็ต้องแจ้งชื่อและที่อยู่กับเบอร์โทรเพื่อให้ทางร้านส่งสินค้ามาให้ นั่นแหล่ะคือช่องทางที่แก็งมิจฉาชีพพวกนี้จะมีข้อมูลส่วนตัวของเราโดยเปิดเป็นเว็ปไซต์ขายของราคาถูกเพื่อบังหน้าและแอบเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้

1qwdfe

ทั้งนี้วิธีสังเกตที่จะทำให้ทราบว่าเว็ปไหนหรือเพจไหนอาจเป็นแก๊งต่างชาติแฝงเข้ามาขายสินค้าเพื่อล้วงเอาข้อมูล ดังนี้

1.  ขายสินค้าจำพวกกระเป๋า หรือ เครื่องประดับที่คนจีนคุ้นเคยดี เช่น กระเป๋าหนัง เครื่องประดับหยก หรือ เครื่องประดับที่เป็นเครื่องราง และรองเท้าที่ผลิตในจีน

2.  สินค้าส่วนใหญ่จะมีราคาถูกกว่าท้องตลาด

3.  สินค้าที่ได้ส่วนใหญ่จะไม่ตรงกับรูปที่โฆษณา

4.  เมื่อทวงถามจะถูกอ้างว่าเป็นความผิดพลาดจากการขนส่งของบริษัทโลจิสติกส์

5.  คำตอบที่ได้จะเหมือนบอทคือไม่สามารถโต้ตอบได้ ประมาณว่า Copy Paste

6.  เว็ปไซต์แจกของฟรีเพียงแค่ส่งชื่อที่อยู่และเบอร์โทร เพื่อทำการส่งของไปให้

ทั้งหมดนี้คือข้อสังเกตที่ได้จากการสอบถามและรวบรวมจากผู้เสียหาย หากใครที่ชอบสั่งซื้อของออนไลน์ก็ควรสังเกตให้ดีและระวังตัวให้มากขึ้น ที่สำคัญควรมีสติอยู่เสมอเพราะถึงแม้ว่าคุณจะรอบคอบและรัดกุมเพียงใด มิจฉาชีพเหล่านี้ก็พร้อมที่จะคิดค้นกลโกงใหม่ๆมาหลอกลวงคุณได้อยู่เสมอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook