วช.เผยผลวิจัย สัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กนานๆ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอด

วช.เผยผลวิจัย สัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กนานๆ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เผยผลการวิจัย การสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นเวลานานจากมลพิษหมอกควันทางอากาศในภาคเหนือ มีโอกาสทำให้เป็นโรคมะเร็งปอด สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนาเรื่อง วช.กับงานวิจัยด้านมลพิษทางอากาศและผลกระทบทางสุขภาพควรมีทางออกอย่างไร ณ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ศ.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน ทั้งนี้ภาวะโลกร้อนในขณะนี้เกิดจากสาเหตุหลายประการทั้งจากธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์ ที่บุกรุกทำลาย แผ้วถางป่า เผาขยะ โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยควันพิษ เป็นต้น โดยได้เก็บตัวอย่างปัสสาวะของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 และ 6 เพื่อไปตรวจการสัมผัสสาร พีเอเอช. และเก็บข้อมูลเพื่อสำรวจพฤติกรรมการก่อมลพิษอนุภาคฝุ่นของนักเรียนและสมาชิกในครอบครัว วัดปริมาณฝุ่นในโรงเรียน โดยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วและนำผลกลับไปสู่ชุมชนจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ การประชุมครั้งนี้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลงานวิจัย และเสนอแนวทางการลดมลพิษทางอากาศจากประสบการณ์ความสำเร็จของนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานในชุมชนสู่การปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าพื้นที่ภาคเหนือมีปริมาณฝุ่นละเอียดหรือฝุ่นละอองขนาดเล็กกระจายทุกช่วงต้นปี ระยะยาว หากยังคงเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มีโอกาสเสี่ยงสูงที่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด สำหรับการประชุมดังกล่าวมีผู้สนใจจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมกว่า 300 คน โดยระยะต่อไปจะนำผลงานวิจัยเสนอต่อรัฐบาลเป็นทางออกในการแก้ปัญหามลพิษต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook