นายกฯ ยันยังไม่มีการเก็บประกันสังคมเพิ่ม

นายกฯ ยันยังไม่มีการเก็บประกันสังคมเพิ่ม

นายกฯ ยันยังไม่มีการเก็บประกันสังคมเพิ่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกรัฐมนตรี ยันยังไม่มีการเก็บประกันสังคมเพิ่ม ชี้แค่หารือ ย้ำรัฐบาลไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร เร่งงานปฏิรูป ขอสื่อลดๆ การนำเสนอเรื่องที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ยันพร้อมจะแก้ไขให้ในทุกเรื่อง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเข้ากองทุนประกันสังคมจาก 750 บาท เป็น 1,000 บาท ว่า ขณะนี้ยังไม่มีการทำอะไรทั้งสิ้น เพราะเป็นเพียงการหารือ และที่ผ่านมามีการหารือมากว่า 15 ปีแล้ว ดังนั้นต้องมีความเข้าใจให้มากขึ้น และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิ้น เพราะมีการพูดว่าจะเรียกเก็บเงินเพิ่มจึงทำให้ตกใจกันไปหมด พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร แต่รับฟังปัญหานำมาแก้ทุกปัญหา แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความเป็นจำเป็นและสาเหตุ จึงขอให้เข้าใจรัฐบาลด้วย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม คสช. ยังหารือถึงการรับฟังความเห็นของผู้ด้อยโอกาสและคนพิการเกี่ยวกับการรับเบี้ยประกันที่มีอยู่ 2 ทาง คือ 1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. และ 2. กองทุนประกันสังคม ซึ่งได้เห็นชอบร่วมกันเพื่อร่างคำสั่งให้เลือกได้ตามความสมัครใจ โดยให้ระยะเวลา 1 ปีในการตัดสินใจ

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า ช่วงนี้เรื่องอื่นๆ ส่วนตัวขอให้หยุดไว้ก่อน ซึ่งรัฐบาลพยายามทำงานให้มากที่สุด ดังนั้นเรื่องใดก็ตามที่ไม่ใช่ประเด็น ขอให้ลดๆลงไปบ้างทั้งในวันนี้และวันหน้า เพราะรัฐบาลต้องปฏิรูปให้ได้ ซึ่งหลายเรื่องได้ทำไปแล้ว เป็นการปฏิรูปเล็กเพื่อให้เกิดการปฏิรูปใหญ่ ทั้งนี้ ขอให้ติดตามการทำงานของรัฐบาลต่อไป และขอเพียงกำลังใจให้กันและกัน โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่ส่วนตัวหวังเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ช่วยกันทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งวันนี้ และในอนาคต นอกจากนี้ ขอฝากประชาชนให้เข้าใจด้วย และหากมีปัญหาอะไรก็บอกมาได้ พร้อมจะแก้ไขให้ในทุกเรื่อง

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการประชุม คสช. ว่า ที่ประชุมหารือถึงโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. อยู่ระหว่างการพิจารณา พ.ร.บ.อีอีซี โดยในทางปฏิบัติได้มีการหารือว่าจะต้องหาวิธีการทำให้การทำงานต่างๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว จึงต้องใช้คำสั่งมาตรา 44 ในบางประเด็น เพื่อให้ทำงานคู่ขนานกับกฎหมาย เพราะระยะเวลามีจำกัด ขณะเดียวกัน ในต่างประเทศมีการปรับปรุงและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับมาตรการส่งเสริมการลงทุน ดังนั้นประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนในเรื่องเหล่านี้ด้วย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการหารือถึงการใช้มาตรา 44 ในการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาโดยใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการบูรณาการทั้งหมด ทั้งด้านกองทุน และการจัดหาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา เพราะมีหลายกระทรวงและหลายหน่วยงาน จึงต้องบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการใช้จ่ายแผนงานแผนเงินและแผนคน เบื้องต้นมีกฎหมายอยู่หลายฉบับจึงต้องติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook