หวั่นอนาคตวรรณกรรมไทยสูญ!เหตุเด็กเมินเรียน-แนะพัฒนาครูสอนภาษาไทย

หวั่นอนาคตวรรณกรรมไทยสูญ!เหตุเด็กเมินเรียน-แนะพัฒนาครูสอนภาษาไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คมชัดลึก : นักวิชาการชี้ภาษาไทยตกต่ำคนสนใจเรียนน้อยลง ทั้งในระดับโรงเรียน ระดับมหาวิทยาลัย หวั่นในอนาคต วรรณกรรมไทย ดีๆ สูญสิ้น อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง แนะทางออก เปิดเวทีระดับชาติพัฒนาครูสอนภาษาไทย ขณะที่ ดร.อมรา วอนภาษาไทยตกต่ำอย่าโทษเด็กเพียงฝ่ายเดียว ชี้ครู-ตำราก็มีปัญหา ย้ำคนสมัยใหม่มีการสร้างสรรค์ภาษาไทยที่ดี จากการประชุมวิชาการภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาถิ่น และภาษาย่อยสังคมของไทย : ประเด็นปัญหาและข้อค้นพบใหม่ ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง(มฟล.) เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ดร.วันชัยศิริชนะ อธิการบดี มฟล.กล่าวในพิธีเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่าเวลานี้ภาษาไทยตกต่ำ คนสนใจเรียนน้อยในระดับโรงเรียน ยิ่งในมหาวิทยาลัยยิ่งเรียนน้อยลง ภาษาเขียนกลายเป็นภาษาพูด จึงน่าเป็นห่วงว่าต่อไป วรรณกรรมไทย ดีๆ ของประเทศไทยจะยังคงมีอยู่หรือไม่ รวมถึงรีไรเตอร์ที่น่ากังวลว่าหมดคนรุ่นนี้แล้ว คนรุ่นใหม่จะสามารถทดแทนและรักษาภาษาไทยดีๆ ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนไม่สนใจเรียนภาษาไทย มีด้วยกันหลายสาเหตุ เพราะ 1.ครูไม่รู้ภาษาไทยแล้วมาสอน2.ครูที่รู้จริงแต่ไม่สอน3.ครูรู้แต่ไม่เอาใจใส่สอนไปเรื่อยๆ จบแล้วก็จบกัน โดยอนุมานว่าเด็กรู้เรื่องแล้ว ทั้งนี้การสอนภาษาไทยที่ดีต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสม และสามารถดึงดูดผู้เรียน เหนืออื่นใดครูผู้สอนต้องได้รับการพัฒนาการสอนที่ถูกต้อง บรรยากาศการเรียนที่ดี และต้องมีการปลูกฝังค่านิยมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปัญหาภาษาไทยตกต่ำคงลดน้อยลงได้ครับ รศ.ดร.วันชัย กล่าว รศ.ดร.วันชัยกล่าวว่า ผลประเมินผลการเรียนที่ระบุเด็กไทยไม่เก่งทั้งวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และมักจะโทษที่สิ่งแวดล้อม ส่วนตัวคิดว่าสิ่งสำคัญคือครูและวิธีการสอน ซึ่งยังไม่สายเกินที่จะแก้ปัญหาโดยเปิดเป็นเวทีระดับชาติในการพัฒนาครูสอนภาษาไทย ไม่ใช่การพัฒนาโดยเพิ่มเนื้อหา แต่อยู่ที่เทคนิควิธีการสอน ครูภาษาไทยส่วนใหญ่จำใจสอน ให้ใครก็ได้มาสอน ทำให้ภาษาไทยวิบัติ จึงน่าจะปฏิรูปการสอนภาษาไทยในระบบโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ รณรงค์ให้สื่อต่างๆ ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รวมทั้งสร้างสื่อการสอนภาษาไทยที่เหมาะสมและน่าสนใจด้วย ศ.กิตติคุณดร.อมราประสิทธิ์รัฐสิทธุ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเรียนภาษาไทยของเด็กตกต่ำจะโทษแต่เด็กฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะปัญหาอาจจะมาจากการสอนที่ไม่น่าสนใจ หรือไม่มีตำราหลักเกณฑ์ที่ดี ยังมองว่าคนสมัยใหม่มีการสร้างสรรค์ภาษาไทยที่ดี และไม่ใช่จะไม่มีเยาวชนที่เก่งภาษาไทย เพียงแต่อาจจะเพ่งเล็งแต่สิ่งที่ไม่ดีเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง รงค์ วงษ์สวรรค์... พระราชทานพวงมาลารงค์ วงษ์สวรรค์ ชานชาลานักเขียน-กวี-รางวัล-บรรณาธิการ และระบบหนังสือหมุนเวียน ชานชาลานัก-จากเวที วรรณกรรมสองฝั่งโขง ถึงซีไรต์ ซิ่นไหมผืนเก่าๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook