ข้าราชการตามความคาดหวังของประชาชน

ข้าราชการตามความคาดหวังของประชาชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ข้าราชการไทยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานควบคู่ไปกับการตั้งแผ่นดินไทย ในสมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทรงมอบหมายภาระหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้แก่ผู้ใกล้ชิดที่สำคัญคือ ข้าราชการ เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ ด้วยเหตุนี้ ข้าราชการแต่เดิมจึงหมายถึง ผู้ใกล้ชิดและผู้แบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ หลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัยได้กล่าวถึง อำมาตย์ และ มนตรี ไว้ แสดงว่าจะต้องมีข้าราชการหรือที่แต่เดิมเรียกว่า ขุนนาง อยู่ในราชสำนักของพระมหากษัตริย์แล้ว ในสังคมสมัยอยุธยา ราชการแผ่นดิน ได้เข้ามาควบคุมชีวิตและความเป็นอยู่ของ ประชาชนอย่างมาก ความทุกข์ความสุขตลอดจนผลประโยชน์ของประชาชน ขึ้นอยู่กับราชการหรือข้าราชการเป็นสำคัญ คือ ประชาชนจะมีสุขได้ก็ต่อเมื่อทางราชการเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูล จะมีทุกข์ก็โดยราชการนั้นเองได้ก่อให้ และจะต้องพลัดพรากจากกันก็ต่อเมื่อทางราชการเข้ามากะเกณฑ์เอาตัวไปเป็น กำลังของทางราชการ ข้าราชการไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลายมีอำนาจกว้างขวางมากครอบคลุมสังคมและประชาชนในสังคม ข้าราชการนิยมยกย่องและนำแนวคิดของกษัตริย์ที่ทรงใช้ทศพิธราชธรรมในการบริหารประเทศมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ ถึงแม้ว่าอาชีพรับราชการจะได้รับการนิยมยกย่องอย่างกว้างขวางสืบต่อกันมา ในเวลาเดียวกัน ก็มีข้าราชการบางส่วนประพฤติมิชอบ ใช้อำนาจหน้าที่ทางราชการเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หลักคุณธรรมที่เคยยึดปฏิบัติกันมาก็เสื่อมโทรม ปัจจุบัน ประเทศไทยมีข้าราชการพลเรือนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1,500,000 คน แบ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ 400,000 คน ครู 600,000 คน ตำรวจ 220,000 คน และอื่นๆ (ที่ไม่รวมทหาร) เช่น ข้าราชการกทม. พนักงานราชการ เป็นต้น ใช้งบประมาณไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี หากจะถามว่าการทำงานของข้าราชการได้ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ ก็อาจดูได้จากผลสำรวจความคิดเห็น (poll) ซึ่งทำครั้งใด ก็ได้ภาพติดลบ หรืออย่างดีก็เสมอตัว เพราะประชาชนให้คะแนนจากสิ่งที่ตนสัมผัส ประสิทธิภาพที่ประชาชนต้องการคือ ความรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการ ดูแลประชาชนโดยเสมอภาค ให้บริการแล้วไม่สร้างปัญหาติดตามมา ในความเห็นของนายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่าข้าราชการยุคใหม่จะทำงานให้ประชาชนพอใจได้ต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ 1.มีความรู้ความสามารถ ที่จะทำงานให้ลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพหรือสมรรถนะ (competency) ข้าราชการต้องมีความสามารถตามที่หน่วยงานต้องการ มีความรู้ในระบบราชการ มีสมรรถนะเฉพาะเรื่องของตน มีความเป็นผู้นำ เหล่านี้เป็นหัวใจที่จะทำให้ข้าราชการแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์ และสามารถไปดูแลให้ภาคเอกชนแข่งขันได้ อดีตเลขาธิการ ก.พ. กล่าวว่า อาจเรียกมิติทั้งสามประการว่า ยุทธศาสตร์คนเก่ง คนดี มีความมุ่งมั่น เป็นยุทธศาสตร์สร้างข้าราชการที่ดีตามความคาดหวังของประชาชน อดีตเลขาธิการ ก.พ.ยังฝากข้อคิดไว้ด้วยว่า 1. การเป็นข้าราชการนั้นมีความเสี่ยง เพราะประชาชนคาดหวังสูง ต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส ขณะที่องค์กรตรวจสอบก็มีมาก ความยากคือให้ทำงานอย่างอิสระ แต่ก็ตรวจสอบได้ด้วย 2. ข้าราชการต้องหยิ่งในศักดิ์ศรี ต้องไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การรับกระเช้าอาจทำให้การตัดสินใจถูกโน้มน้าว ต้องหลีกเลี่ยง 3. ระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลภายใน ซึ่งอาจเป็นประโยน์เชิงธุรกิจต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 4. เรื่องของการประกอบอาชีพเสริม ไม่ควรเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ 5. ข้าราชการควรติดตามเทคโนโลยีให้ทัน พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ใช้นวัตกรรมใหม่ได้ หากปฏิบัติได้ดังนี้ ก็จะสามารถเป็นข้าราชการที่ดีตามความคาดหวังของประชาชนได้อย่างแน่นอน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook