ขยาดกู้แบงก์พยุงสินค้าเกษตร

ขยาดกู้แบงก์พยุงสินค้าเกษตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้จัด การธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากนี้ไปรัฐบาลจะเน้นการดำเนินนโยบายดูแลราคาพืชผลทางการเกษตรผ่านธ.ก.ส.เป็นหลัก โดยเฉพาะการใช้เงินเข้าไปรับจำนำหรือแทรกแซงราคา เนื่องจากเห็นว่าการใช้เงินกู้ 110,000 ล้านบาท เพื่อรับจำนำสินค้า 4 ประเภท คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลังและปาล์มนั้น มีต้นทุนการดำเนินงานค่อนข้างสูง เป็นต้นทุนดอกเบี้ยที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน 4.9% บวกค่าดำเนินงานของธ.ก.ส. 3% รวมรัฐบาลมีต้นทุนเกือบ 8% เทียบกับการใช้เงินของธ.ก.ส. ดำเนินการจะมีต้นทุน 6%

โครงการแรกที่หันมาใช้เงินของธ.ก.ส. เอง คือ การรับจำนำข้าวนาปรังที่เพิ่งเริ่มโครงการไม่นานนี้ โดยมีเป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน ใช้เงินรวม 30,000 ล้านบาท ซึ่งธ.ก.ส.จะจ่ายเงินตามใบประทวนเท่านั้น และเก็บข้าวไว้ที่โรงสีที่ร่วมโครงการ ล่าสุดยังมษตรกรมารับจำนำไม่มากนักจ่ายเงินไปเพียง 17 ล้านบาทเท่านั้น เพราะยัง อยู่ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นคนละพื้นที่กับข้าวนาปีก่อนหน้านี้ โดยหลังปิดโครงการ 31 ก.ค.น่าจะมีปริมาณข้าวเข้ามาจำนำตามเป้าหมาย เพราะราคาสูงกว่าตลาดที่ตันละ 12,000 บาท แต่ปีนี้มีราคาที่ต่ำกว่าปีก่อนที่ได้ตั้งราคาสูงถึง ตันละ 14,000 บาท

การรับจำ นำข้าวนาปรังครั้งนี้ มองว่ารัฐบาลจะขาดทุนเล็กน้อย หากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนภายใน 3-4 เดือนและต้องขายข้าว ออกไป ซึ่งรัฐบาลต้องจ่ายชดเชยให้ธ.ก.ส.ในฐานะเจ้าของเงิน และการใช้เงินดังกล่าว ไม่กระทบกับการดำเนินงานปกติของธนาคารเพราะไม่มากนัก อนาคตหากต้องแทรกแซงสินค้าอื่น ๆ อีกธ.ก.ส.ก็พร้อม เนื่องจากที่ผ่านมามีเงินที่ได้จากการชำระหนี้คืนของลูกค้าเข้ามาสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ปัจจุบันรัฐบาลยังค้างจ่ายเงินชดเชยจากการดำเนินนโยบายในอดีตเพียง 30,000 ล้านบาทเท่านั้น

นายเอ็นนู กล่าวว่า ธ.ก.ส.ตั้งข้อสังเกตว่าการที่กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าวโพดในสต๊อก 450,000 ตัน อาจเพื่อต้องการนำเงินมาใช้หนี้ในโครงการรับจำนำที่ผ่านมา แต่มองว่าการขายข้าวโพดไม่ควรให้ราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 6-7 บาท แม้จะขาดทุน ยังอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ เพราะรัฐบาลรับจำนำในราคากิโลกรัมละ 8.50 บาท แต่หากขายแค่ 3-4 บาทคงไม่เหมาะสม ซึ่งเข้าใจว่าการล้มประมูล 2 ครั้งที่ผ่านมา เพราะเอกชนเสนอราคาต่ำเกินไป ครั้งแรกที่กิโลกรัมละ 2.50-5 บาท ครั้งที่ 2 ที่ 3.50-7 บาท.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook