เด็กขาดความอบอุ่นปัญหากำพร้า''สึนามิ''

เด็กขาดความอบอุ่นปัญหากำพร้า''สึนามิ''

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สพท.พังงา จับมือ พม.จังหวัดเดินหน้าเร่งแก้ปัญหา ผลกระทบต่อเด็ก หลังเดลินิวส์ตีแผ่-เปิดปมปัญหาชีวิต เด็กกำพร้า-เด็กไร้สัญ ชาติ เหยื่อมหันตภัยธรณีพิบัติ ระบุต้นตอปัญหาทำเด็กและเยาวชน หลงเดินทางผิด คือขาดความ อบอุ่น-ขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดี-ความยากจน

จากกรณี เดลินิวส์ เปิดปมปัญหาชีวิต เด็กกำพร้า-เด็กไร้สัญชาติ ที่ตกเป็นเหยื่อ มหันตภัยธรณีพิบัติ สึนามิ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง ล่าสุดได้เปิดปมเด็กชาย อายุ 7 ขวบ ที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมพร้อมขบวนค้าแรงงานต่าง ด้าว ขณะ ทำหน้าที่ นั่งทับต่างด้าว โดยใช้ วิธีนำสิ่งของมาอำพราง ก่อนให้เด็กและชาวบ้านในพื้นที่นั่งมาในรถเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่เมื่อพบจุด ตรวจ ได้รับค่าจ้างครั้งละ 200 บาท โดยจะนำไปจุนเจือครอบครัว ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. นายวิพล นาคพันธ์ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จ.พังงา กล่าวว่า สำหรับ เด็กกำพร้าจากผลพวงมหันตภัย สึนามิ ใน จ.พังงา จากการตรวจสอบมีทั้งสิ้น 606 ราย โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเด็กกำพร้าที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาพื้นฐาน โดยจะได้สั่งการให้มีการเก็บข้อมูลว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมอย่างไรพร้อมกำชับให้อาจารย์ฝ่ายปกครองดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ส่วนที่สองเป็นกลุ่ม เด็กกำพร้าที่อยู่นอกสถานศึกษา ซึ่ง สพท. จะประสานกับทางสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เพื่อเร่งป้องกันและแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สำหรับปมปัญหาที่ทำให้เด็กและเยาวชน หลงเดินในทางผิด ทั้งเรื่องยาเสพติด และปัญหาเรื่องเพศนั้น สาเหตุหลักคือการขาดความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดีจากผู้ปกครอง และปัญหาความยากจน

ด้าน น.ส.วาสนา สุทธวิ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ประจำโครงการฟื้นฟูครอบครัวและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยฝั่งอันดามัน พื้นที่ จ.ระนอง เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติ สึนามิ จนถึงวันนี้ รวมเวลาเกือบ 5 ปี ทางโครงการได้เข้าไปดูแลเด็กประมาณ 450 คน มีตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน ไปจนถึงอายุ 18 ปี โดยในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่ได้รับการเอาใจใส่จากผู้ปกครองมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องเร่งรีบในการทำมาหากิน เราจึงเข้าไปช่วยเหลือพร้อมให้คำแนะนำแก่เด็กและผู้ปกครอง โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่ในเด็กก่อนวัยเรียนไปจนถึงระดับปฐม คือเรื่องสุข ลักษณะ ส่วนเด็กโตที่อายุต่ำกว่า 18 ปี พบว่า 20% เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ต้องการเรียนให้จบสูง ๆ เพื่อจะได้มีงานที่ดีในอนาคต.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook