"หมอหม่อง" อาจารย์แพทย์ ม.เชียงใหม่ ไขข้อสงสัย น้ำในถ้ำมาจากไหน?

"หมอหม่อง" อาจารย์แพทย์ ม.เชียงใหม่ ไขข้อสงสัย น้ำในถ้ำมาจากไหน?

"หมอหม่อง" อาจารย์แพทย์ ม.เชียงใหม่ ไขข้อสงสัย น้ำในถ้ำมาจากไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากเหตุการณ์ที่ทีมนักฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ 13 ชีวิต หายเข้าไปในถ้ำหลวง และหลายหน่วยงานได้เข้าช่วยเหลือ ท่ามกลางอุปสรรคมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “น้ำในถ้ำ” ที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยสงสัยว่ามาจากไหนมากมาย 

อัปเดตสถานการณ์ล่าสุด : เกาะติดช่วยชีวิต 13 นักเตะและโค้ชติดถ้ำหลวง

(28 มิ.ย.) ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Rungsrit Kanjanavanit ของ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ “หมอหม่อง” อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ไขข้อสงสัยของประชาชนจำนวนไม่น้อย ว่าน้ำในถ้ำมาจากไหน

โดยได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า “บ่อยครั้ง เวลาเราไปเที่ยวถ้ำ เรามักพบว่า ที่ปากถ้ำ มีลำธารไหลออกมา เราอาจสงสัยว่า ธารน้ำไหลมาจากไหน ถ้ำบางถ้ำนั้น แม่น้ำไหลทะลุผ่าน (ธารลอด) แต่บางถ้ำ เราเห็นแต่ธารน้ำไหลที่ออกมา โดยไม่พบทางเข้า ไม่รู้ว่าต้นตอน้ำมาจากไหน ความลับอยู่ที่ลักษณะเฉพาะของเขาหินปูนที่เป็นแหล่งพบถ้ำ

หินปูน นั้น เมื่อถูกน้ำฝนที่รวมตัวกับ CO2 ในดิน เกิดเป็นกรดคาร์บอนิค ก็จะกัดเซาะละลาย กลายเป็นโพรง เล็กใหญ่ ต่อเนื่องตามการไหลของน้ำได้โดยง่าย น้ำฝนที่ตกบนเขา จึงไม่สามารถเก็บขังอยู่บนผิวพื้นภูเขา แต่ไหลซึมลงไปผ่านช่องโหว่ที่มีอยู่มากมาย ลงไปสะสมในโพรงใต้ภูเขา ไหลออกมาเป็นธารน้ำที่หน้าปากถ้ำ ฝนยิ่งตกน้ำก็ยิ่งซึมลงไปใต้ภูเขา ระดับน้ำในถ้ำก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ทั้งนี้ ภาพที่อาจารย์หมอนำมาประกอบนั้น อาจารย์หมอระบุเอาไว้ว่า เป็นภาพจากหนังสือของลูก Knowledge Encyclopedia สำนักพิมพ์ DK โดยภายหลังจากเรื่องราวดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ ชาวโซเชียลต่างก็ให้ความสนใจ แชร์และแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย

สำหรับ  นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ มีผลงานหลากหลายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยนกเงือก และการร่วมคัดค้านโครงการของรัฐที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การก่อสร้างเขื่อนปากมูล เขื่อนเหวนรก หรือโครงการก่อสร้างกระเซ้าไฟฟ้าขึ้นดอยเชียงดาว ไนท์ซาฟารี และ ยังเป็นผู้ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนาอีกด้วย

>>กรมชลฯ ส่งเครื่องสูบน้ำ 10 เครื่องระบายน้ำถ้ำหลวง ชาวบ้านยินดีเป็นพื้นที่รับน้ำ

>>"หน่วยซีล" เผยคลิปในถ้ำหลวงจุดสุดท้ายที่เข้าถึง น้ำท่วมมิด-ไปต่อไม่ได้

>>เจาะถ้ำหลวงระบายน้ำกลางสายฝน สำรวจเจอ 9 โพรง สูงชันต้องใช้นักไต่เขา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook