เพจพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ชี้แจงดราม่า "รองเท้าแฟชั่น" สีคล้ายธงไตรรงค์

เพจพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ชี้แจงดราม่า "รองเท้าแฟชั่น" สีคล้ายธงไตรรงค์

เพจพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ชี้แจงดราม่า "รองเท้าแฟชั่น" สีคล้ายธงไตรรงค์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากกลายเป็นประเด็นดราม่าต่างภาษาในวงการแฟชั่น ทำเอาเพจเฟซบุ๊ก Vogue Paris ถล่มทลายไปด้วยถ้อยคำตำหนิและวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มคนไทยที่เข้าไปแสดงความคิดเห็นไม่พอใจ เนื่องจากรองเท้าแฟชั่นคู่หนึ่งมีสีคล้ายกับธงไตรรงค์ของไทย

ขณะที่ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ได้โพสต์ถึงประเด็นดังกล่าว พร้อมกับชี้แจงประเด็นดราม่าเรื่องสีในการใช้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ โดยระบุว่า สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน ถือเป็นสีสากล ไม่มีผู้ใดจดลิขสิทธิ์เป็นเจ้าของได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคลหรือประเทศไทยๆ ก็ตาม

>> ดราม่า ชาวเน็ตไทยแห่ถล่มเพจ Vogue Paris หลังลงภาพรองเท้าสีคล้ายธงชาติ

พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ได้อธิบายว่า สีแดง, สีขาว, สีน้ำเงิน เป็นสีสากล ไม่มีผู้ใดสามารถนำไปจดลิขสิทธิ์ว่าเป็นของตนเองหรือประเทศตนเองได้

ส่วนลักษณะแถบสี สัดส่วนแถบสี และสัดส่วนผืนธงที่เป็น “ธงไตรรงค์ ธงชาติไทย” ต้องเป็นไปตามที่ระบุอยู่ในมาตราที่ 3 แห่งพระราชบัญญัติธงพระพุทธศักราช 2460 ลงวันที่ 28 ก.ย. 2460 และประเทศไทยได้ใช้หลักเกณฑ์นี้เพื่อระบุความเป็นธงชาติไทยประกาศให้โลกรู้มาจนถึงประกาศพระราชบัญญัติธงปีพระพุทธศักราช 2522

ขณะที่ประเด็นการกำหนดบทลงโทษตามมาตรา 53 ผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อธงตามมาตรา 5 หรือมาตรา 6 นั้น มีดังต่อไปนี้
(1) ประดิษฐ์รูป ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นใดในผืนธง รูปจําลองของธง หรือในแถบสีธง นอกจากที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(2) ใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจําลองของธง หรือแถบสีธงอันมีลักษณะตาม (1)
(3) ใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจําลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือโดยวิธีอันไม่สมควร
(4) ประดิษฐ์ธง รูปจําลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือสิ่งใดๆ โดยไม่สมควร
(5) แสดงหรือใช้สิ่งใด ๆ ที่มีรูปธง รูปจําลองของธง หรือมีแถบสีธงอันมีลักษณะตาม (4) โดยไม่สมควร

ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 54 ผู้ใดกระทําการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการเหยียดหยามต่อธง รูปจําลองของธง หรือแถบสีธงที่ได้ บัญญัติกําหนดลักษณะไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่กําหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตาม พระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

แต่สำหรับในกรณีนี้ ผู้ที่ออกแบบสายรองเท้าเป็นผู้ผลิตจากต่างประเทศและเกิดขึ้นที่ประเทศอื่น โดยกฎหมายธงว่าด้วยบทลงโทษหมวด 10 มาตรา 53 (3) ตามพระราชบัญญัติธงนี้ มีผลบังคับใช้เฉพาะในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์หรือสามารถนำไปบังคับประเทศอื่นๆ ได้ ส่วนในราชอาณาจักรไทยต้องอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายของประเทศตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook