นักวิชาการห่วงกู้เงิน4แสนล้านสะดุด แนะทำแผนสำรองฉุกเฉิน-ฟื้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

นักวิชาการห่วงกู้เงิน4แสนล้านสะดุด แนะทำแผนสำรองฉุกเฉิน-ฟื้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์ (GSPA NIDA) กล่าวถึงกรณีที่พระราชกำ หนดเงินกู้ (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจวงเงิน 4 แสน ล้านบาท เพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจในรอบ 2 ที่อยู่ระหว่าง การตีความของศาลรัฐธรรมนูญว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า หากพ.ร.ก.นี้ต้องล่าช้าออกไปจะส่งผลกระทบความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจ และการลงทุนในประเทศ ขณะเดียวกันมีความเป็นห่วงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในการที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนมาตรการและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป หากไม่ได้รับความร่วมมือกับทุกฝ่าย ก็จะกระทบ ต่อความเชื่อมั่นและกลายเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลที่จะต้อง แก้ไขต่อไป

ผมไม่อยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศชาติต้องตกมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะขณะนี้ประชาชนทุกคนกำลังประสบปัญหา ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน สิ่งไหนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและ ประชาชนก็ต้องสนับสนุน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาอยู่เรื่อยๆ เหมือนกรณีพ.ร.ก.เงินกู้ที่ต้องสะดุดแล้วใครจะมาเชื่อมั่น ถึงแม้ท้ายที่สุดเรื่องดังกล่าวคาดว่าจะผ่านไปได้ด้วยดี นายมนตรี กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้การบริหารงานของรัฐบาลอาจจะติด ขัดไปบ้าง แต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะต้องดำเนินการต่อไปด้วยข้อจำกัดของงบประมาณที่มีอยู่ ดังนั้น อยากให้รัฐบาล เตรียมแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน และมาตรการที่สามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ โดยอาจแบ่งเป็นแผนระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว เช่น การปรับเพดานการกู้เงินจากเดิม 20% เพิ่มเป็น 30% จากงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล รวม ไปถึงการดึงให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุน เพื่อ ให้เกิดผลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใช้เม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลง ทำให้เกิดภาระหนี้ภาครัฐลดลงแต่ให้ผลทางเศรษฐกิจเท่าเดิม

ขณะที่แผนระยะยาวนั้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็น การประหยัดทรัพยากรภาครัฐ และสร้างความสามารถทาง การแข่งขันให้กับประเทศ ซึ่งถือเป็นช่องทางการระดมทุนในการพัฒนาประเทศในระยะยาว

รัฐวิสาหกิจทั้ง 60 กว่าแห่งที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากทำให้เกิดการลง ทุนและการจ้างงาน ซึ่งถ้าเกิดการแปรรูปจะก่อให้เกิดประ สิทธิภาพทั้งการแข่งขันและดำเนินงาน รวมไปถึงรัฐก็ไม่ต้อง ใส่เงินลงทุนให้กับรัฐวิสาหกิจ สามารถนำเงินไปทำประ โยชน์อย่างอื่นได้อย่างมากมาย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบงบประมาณของชาติ นายมนตรี กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็คงต้อง มาพิจารณากันให้ละเอียดกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่ารัฐ วิสาหกิจไหนสมควรและเหมาะสมที่จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปบ้าง เพราะแต่ละรัฐวิสาหกิจก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook