สหรัฐฯ เสี่ยงขาด “แร่ Rare Earth” ถ่วงการพัฒนาเทคโนโลยี

สหรัฐฯ เสี่ยงขาด “แร่ Rare Earth” ถ่วงการพัฒนาเทคโนโลยี

สหรัฐฯ เสี่ยงขาด “แร่ Rare Earth” ถ่วงการพัฒนาเทคโนโลยี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การทำสงครามการค้ากับประเทศจีนทำให้สหรัฐฯ เสี่ยงเสียวัตถุดิบหลักสำคัญในการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีของประเทศ นั่นคือ “แร่หายาก” หรือ “แร่ Rare Earth” ซึ่งมีจีนเป็นผู้ผลิตหลักของโลก

แม้แร่ Rare Earth จะไม่เป็นที่พูดถึงกันมากนัก แต่ก็มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นแร่ที่ใช้ผลิตแม่เหล็กและสารเรืองแสงซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมายหลายชนิด เช่น จอโทรศัพท์สมาร์ทโฟน จอรับรังสีเอกซ์ และใช้เพื่อควบคุมความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 

ในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก ประเทศจีนมีความเปิดกว้าง พร้อมแบ่งปัน และพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ Rare Earth กับต่างประเทศอยู่เสมอ แม้จะให้ความสำคัญกับความต้องการในประเทศก่อน แต่จีนก็ยังส่งแร่เหล่านี้ให้ต่างชาติที่มีเป้าหมายในการใช้งานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนเคยกล่าวว่า จีนยินดีที่แร่ Rare Earth เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอุปกรณ์ทันสมัย ซึ่งทำให้ผู้คนทั่วโลกพึงพอใจและมีชีวิตที่ดีขึ้น 

แฟ้มภาพซินหัว : สี จิ้นผิง ตรวจตราโรงงานแร่แรร์เอิร์ท ณ มณฑลเจียงซี เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2019

อย่างไรก็ตาม หากมีใครคิดนำเข้าแร่เหล่านี้เพื่อใช้ในการต่อต้านประเทศจีน แน่นอนว่าชาวจีนย่อมไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว

ขณะพยายามยับยั้งการพัฒนาทางเทคโนโลยีของประเทศอื่นอยู่นั้น ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ จะลืมสิ่งสำคัญไปประการหนึ่ง นั่นก็คือห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศนั้นยึดโยงกันอย่างซับซ้อนเกินกว่าที่เศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งจะสามารถดำรงอยู่ด้วยตนเองได้

จากการสำรวจเชิงธรณีวิทยาของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2014-2017 สหรัฐฯ นำเข้าแร่ Rare Earth และเหล็กจากประเทศจีนมากถึงร้อยละ 80 ซึ่งแร่ดังกล่าวจะทวีความสำคัญยิ่งขึ้นสำหรับการปฏิรูปเทคโนโลยีและวิวัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ประเทศจีนยังคงยืนยันจุดยืนในการให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงสงครามการค้าที่จะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะ อย่างไรก็ตาม หากถึงคราวจำเป็นจีนก็มีวิธีการมากมายที่จะตอบโต้เช่นกัน

>> ทำไม "อเมริกา" ถึงเงิบ เมื่อจีนหงายไพ่ "แร่ Rare Earth" ขึ้นมาตอกหน้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook