เสนอชุมชนเกาะลิบง ใช้ “โดรน” บินเฝ้าดูแลฝูงพะยูน

เสนอชุมชนเกาะลิบง ใช้ “โดรน” บินเฝ้าดูแลฝูงพะยูน

เสนอชุมชนเกาะลิบง ใช้ “โดรน” บินเฝ้าดูแลฝูงพะยูน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดีป้าร่วมกับ พอช. หนุนชุมชนเกาะลิบง ใช้ “โดรน” อนุรักษ์ฝูงพะยูน ส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมาย

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้า ร่วมกับ พอช. เปิดตัว “โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล” สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและพัฒนาอาชีพเกาะลิบงใช้ “โดรน” อนุรักษ์ฝูงพะยูนและทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อพัฒนาชุมชน (depa Digital Transformation Fund for Community)

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้ชุมชน นำเทคโนโลยีโดรน มาประยุกต์ติดกล้อง บินสำรวจตำแหน่งและจำนวนของฝูงพะยูนเพื่อตรวจสอบจำนวนและวางแผนอนุรักษ์ แทนการใช้เรือประมงออกตระเวนหาจุดที่พะยูนอาศัย ซึ่งไม่มีความแม่นยำและสิ้นเปลืองพลังงานมาก รวมทั้งการจัดทำแนวทางการใช้โดรนบินเก็บภาพพะยูน ก่อนส่งสัญญาณภาพกลับมายังชมรมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์เกาะลิบง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นฝูงพะยูนผ่านหน้าจอโปรเจคเตอร์แบบเรียลไทม์ และอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ไม่สะดวกขึ้น-ลงเรือ อาทิ ผู้สูงอายุ หรือคนพิการ ที่ต้องการชมพะยูนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมายอีกด้วย

สำหรับการดำเนินการของโครงการนี้ จะเริ่มด้วยการจัดซื้อโดรน 1 เครื่อง การบริหารจัดการเพื่อให้โครงการมีความยั่งยืน และการฝึกอบรมการใช้โดรน ซึ่งจะเริ่มภายในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคมนี้

ด้านนายอิสมาแอน เบ็ญสอาด ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและพัฒนาอาชีพเกาะลิบง กล่าวว่า เกาะลิบงเป็นแหล่งอยู่อาศัยของพะยูนแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของพะยูนอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราว 20,000 ไร่ มีพะยูนอาศัยอยู่ประมาณ 170-180 ตัว แต่ที่ผ่านมามีเรือประมงต่างถิ่นลักลอบเข้ามาทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการลักลอบจับพะยูน ซึ่งส่งผลให้หญ้าทะเลถูกทำลาย รวมไปถึงการลักลอบตัดไม้บนเกาะ

“เราจะใช้โดรนขึ้นบินสำรวจพื้นที่ที่อาจมีเรือประมงลักลอบเข้ามาจับพะยูน หรือตัดไม้บนเกาะ นอกจากนี้จะใช้โดรนบินถ่ายภาพฝูงพะยูน และต่อสัญญาณภาพมาที่จอโปรเจคเตอร์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ดู โดยไม่ต้องนั่งเรือลงไปดูใกล้ ๆ เพราะเป็นการรบกวนพะยูน และอาจทำให้พะยูนได้รับอันตราย เพราะที่ผ่านมาเคยมีเรือ สปีดโบ๊ทชนพะยูนตาย” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook