สพฐ.สนองรับสั่งสมเด็จพระเทพฯติวเข้มครูผลิตสื่อวิทย์-คณิตสอนนร.ตาบอด

สพฐ.สนองรับสั่งสมเด็จพระเทพฯติวเข้มครูผลิตสื่อวิทย์-คณิตสอนนร.ตาบอด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สพฐ.สนองพระราชกระแสรับสั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผนึกกำลัง 6 หน่วยงานติวเข้มครู ผลิตสื่อวิทย์-คณิต สอนนักเรียนตาบอด ระบุปีที่ผ่านมาพัฒนาครูช่วงชั้นที่ 3-4 สามารถผลิตสื่อได้แล้ว 349 คน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสรับสั่งในเรื่องการศึกษาของนักเรียน ตาบอด ที่จำกัดอยู่เฉพาะในสายศิลป์ แม้ต้องการเรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่โรงเรียนไม่มีความพร้อมรับนักเรียน ตาบอด เข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์ เพราะครูไม่มีพื้นฐานการสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนไม่มีเครื่องมือสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คุณหญิงกล่าวอีกว่า มีพระราชดำริให้ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ตาบอด ดังนั้น สพฐ.โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในฐานะคณะกรรมการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ตาบอด จึงร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โรงเรียนสอนคน ตาบอด ทั้งภาครัฐและเอกชน และมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคน ตาบอด ในประเทศไทย จัดประชุมปฏิบัติการอบรมครูเพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นระดับประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 15-19 มิถุนายนนี้ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา โครงการผลิตสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ตาบอด ได้พัฒนาครูช่วงชั้นที่ 3 และ 4 ให้มีความสามารถผลิตสื่อการเรียนการสอนไปแล้วจำนวน 349 คน ซึ่งสื่อที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับนักเรียนที่มีสายตาปกติ สอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมสำหรับการจัดการเรียนร่วมที่เป็นสากล คุณหญิงกษมากล่าว คุณหญิงกษมากล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2552 นี้ จึงได้กำหนดแผนพัฒนาครูช่วงชั้นที่ 1-2 และติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูช่วงชั้นที่ 3-4 ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน ตาบอด ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง อภิสิทธิ์ปัดไม่รู้ว่าแก๊งออฟโฟร์เป็นใคร หนุ่มพิการคว้ามีดปาดคอแม่ดับฆ่าตัวรอด โรคจิตอาละวาดฉีดน้ำกรดใส่ตาหญิงสาว เด็กหญิงยอดกตัญญูเลี้ยงดูยายตาบอดลำพัง อภิสิทธิ์ยังไม่ได้รับรายงานซุกซีโฟร์ย่านพรานนก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook