อุบัติเหตุบนถนน

อุบัติเหตุบนถนน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แยกประชาชื่น

ล็อกล้อ

แม้การรณรงค์เมาไม่ขับ และออกตั้งด่านจับกุมอย่างเข้มข้นในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวจะช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุ และผู้เสียชีวิตลงได้บ้าง

แต่อุบัติเหตุบนท้องถนนก็ยังเกิดขึ้น และมีให้เห็นอยู่ตลอด

จากบทความ สถานภาพโลกในด้านความปลอดภัยทางถนนใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับการไร้ความปลอดภัยบนถนนทั่วโลก ของพ.ญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย

โดยบทความของผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ระบุว่า จากรายงาน 178 ประเทศ พบการเสียชีวิตจากการจราจรกว่าร้อยละ 90 เกิดขึ้นในประเทศรายได้ต่ำ และปานกลาง โดยมีอัตราการเสียชีวิต 21.5 และ 19.3 ต่อประชากร 1 แสนคนตามลำดับ

ซึ่งสูงเป็นสองเท่าของประเทศรายได้สูง ที่มีอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ 10.3 ต่อประชากร 1 แสนคน

และเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 46 เกิดขึ้นกับคนเดินถนน คนขี่จักรยาน และคนขับขี่รถจักรยานยนต์

สำหรับไทยที่เป็นประเทศรายได้ปานกลาง มีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 12,492 รายเมื่อปี 2550 และบาดเจ็บไม่ถึงแก่ชีวิตมากถึง 973,104 รายเมื่อปี 2549

โดยร้อยละ 70 ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และรถสามล้อเครื่อง ร้อยละ 8 เป็นคนเดินถนน และร้อยละ 3 เป็นคนขี่จักรยาน

ข้อเสนอจากผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยชี้ให้เห็นว่า การลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บตามท้องถนน เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การลดการดื่มขณะขับ การขับรถความเร็วเกิน การใช้หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย และที่นั่งเด็ก แต่มีประเทศเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่บังคับใช้กฎหมายเหล่านี้อย่างจริงจัง

เมื่อนำความเห็นจากผู้แทนองค์การอนามัยโลกที่มองเข้ามายังประเทศไทย เปรียบเทียบกับสิ่งที่ทุกคนเห็นอยู่ทุกวัน

ทั้งเรื่องอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์ และการบังคับใช้กฎหมายจราจรในประเทศไทย ก็น่าจะเป็นประเด็นที่สอดคล้องกัน

เพราะเมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัดในช่วงเทศกาลก็ช่วยลดอุบัติเหตุได้มาอย่างต่อเนื่องทุกปี

ความประมาท และความรับผิดชอบต่อกฎจราจรของผู้ขับขี่ในประเทศไทย

ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไขปรับปรุง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook